ต้นทุนผันแปร (Variable Cost)
คือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนการผลิต เช่น วัตถุดิบ ค่าแรงรายชั่วโมง
ตัวอย่างที่ 1
บริษัทวรุณ จำกัด ผลิตเครื่องเล่นเสตอริโอ ภายใต้ยี่ห้อ V-sound บริษัทซื้อชิ้นส่วนต่าง
ๆ จากผู้ผลิตรายย่อย (Supplier) ภายนอก ราคาชิ้นละ 10
บาท ดังนั้น ยิ่งต้องการจำนวนมาก ๆ ก็จะทำให้ต้นทุน ในการซื้อเพิ่มขึ้น
ถือเป็นต้นทุนผันแปร
โดยที่
ต้นทุนต่อหน่วยจะคงที่ คือ 10
บาท/หน่วย
แต่ต้นทุนรวมจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนหน่วยผลิต
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือต้นทุนที่ไม่เพิ่มขึ้น
จากเดิม แม้จะเพิ่มจำนวนการผลิต เช่น เงินเดือน
เครื่องจักร ค่าเช่า
ตัวอย่าง
สมรเป็นผู้ควบคุมการผลิตของบริษัท น้ำหอมไทย จำกัด โดยได้รับเงินเดือนปีละ 75,00
บาท บริษัทผลิตน้ำหอมปีละ 50,000 – 300,000 ขวด
(ดังนั้นไม่ว่า สมร จะผลิตมาหรือน้อย ก็ได้เงินเดือนเท่าเดิม ถือเป็นต้นทุนคงที่
ยกเว้นจะผลิตเกินไปจาก 300,000 จึงจะต้องจ่ายค่า OT เพิ่มให้กับสมร)
จำนวนขวดที่ผลิต
|
เงินเดือนสมร
|
เงินเดือน/ขวดที่ผลิต
|
50,000
|
75,000
|
1.500
|
100,000
|
75,000
|
0.750
|
150,000
|
75,000
|
0.500
|
200,000
|
75,000
|
0.375
|
250,000
|
75,000
|
0.300
|
300,000
|
75,000
|
0.250
|
ต้นทุนผสม (Mixed Cost) เป็นต้นทุนที่มีทั้งต้นทุนคงที่
และต้นทุนผันแปร เช่นค่าโทรศัพท์ ถ้ารับอย่างเดียวจะมีต้นทุนคงที่รายเดือน 100 บาท
แต่ถ้ามีการโทรออกก็จะเสียค่าโทรเป็นต้นทุนผันแปร
ตัวอย่าง
บริษัทไทยเทคโนโลยี จำกัด ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์
โดยเช่าเครื่องมือในอัตราปีละ 15,000 บาท โดยจะบวกเพิ่มอีกชั่วโมงละ 1 บาท
ถ้าใช้เกิน 10,000 ชั่วโมง
ดังนั้น
จะต้องแยกส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร ออกมาวิเคราะห์เชิงจัดการ
โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น
วิธีกำหนดระดับ สูง-ต่ำ (high –
low method)
เป็นวิธีการที่ง่ายในการแยกส่วนต้นทุนออกเป็น คงที่และผันแปร
|
เช่น
เดือน
|
ผลิต(หน่วย)
|
ต้นทุนรวม(บาท)
|
มิ.ย.
|
1,000
|
45,500
|
ก.ค.
|
1,500
|
52,000
|
ส.ค.
|
2,100
|
61,500
|
ก.ย.
|
1,800
|
57,500
|
ต.ค.
|
750
|
41,250
|
ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย = 61,500 –
41,250 / 2,100 – 750
= 20,250 / 1,350
= 15
|
61,500 = ( 15 x 2,100) + ต้นทุนคงที่
61,500
- ( 15 x 2,100) = ต้นทุนคงที่
61,500
- ( 31,500) = ต้นทุนคงที่
30,000 = ต้นทุนคงที่
|
|
งบกำไรส่วนเกิน ( Contribution
Margin Income) กำไรส่วนเกินคือ
รายได้หลังหักต้นทุนผันแปร ที่สามารถนำไปชดเชยต้นทุนคงที่
และมีเหลือเป็นกำไรจากการดำเนินงาน
|
||
|
จุดคุ้มทุน (Break even point)
เป็นจุดที่รายได้ เท่ากับต้นทุน
|
||||
|
ตัวอย่างที่ 1
ขายบัตรโทรศัพท์ 100 บาท
ต้นทุนผันแปร 80 บาท
กำไรส่วนเกิน
(100-80) 20 บาท
ต้นทุนคงที่
(ค่าเช่า) 2,000 บาท/เดือน
(เงินเดือนพนักงานขาย) 1,000 บาท/เดือน
รวมต้นทุนคงที่
(2,000+1,000) 3000 บาท
1. จงหาหน่วยขาย ที่จะคุ้มทุน
จุดคุ้มทุน(หน่วย)
= ต้นทุนคงที่รวม
/ ราคาขาย – ต้นทุนผันแปร
จุดคุ้มทุน(หน่วย)
= ต้นทุนคงที่รวม
/ กำไรส่วนเกิน
=
3000 / 100 – 80
=
3000 / 20
=
150 หน่วย (ใบ)
2. หากต้องการกำไรจากการดำเนินการ 1000
บาท จะต้องขายกี่หน่วย
หน่วยขายที่ให้กำไรตามเป้าหมาย
(Target Profit) = TFC+ Profit / P
- V
ขาย(หน่วย)
= ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ / ราคาขาย –
ต้นทุนผันแปร
ขาย(หน่วย)
= ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ / กำไรส่วนเกิน
= 3000
+ 1000 / 80 -20
=
4000 / 20
=
200 หน่วย(ใบ)
พิสูจน์ ขาย (200
หน่วย x 100) = 20000 บาท
ต้นทุนผันแปร
( 200 หน่วย x80) = 16000 บาท
กำไรส่วนเกิน
( 200 หน่วย x (100-80))
( 200 x
20) = 4000 บาท
ต้นทุนคงที่
= 3000 บาท
กำไรจากการดำเนินงาน = 1000 บาท
ตัวอย่างที่ 2 เสรี ดำเนินธุรกิจห้องอาหาร โดยมีต้นทุนคงที่
420,000 บาท มีรายได้เฉลี่ย/หัวของลูกค้า
380 บาท มีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 212 บาท
1). ถ้าเสรี
ต้องการกำไรจาการดำเนินงาน 168,000 บาท /เดือน จะต้องมีลูกค้ามาอุดหนุนกี่คน
ขาย(หน่วย)
= ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ / ราคาขาย –
ต้นทุนผันแปร
ขาย(หน่วย) = ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ / กำไรส่วนเกิน
= 420,000 + 168,000 / 380 - 212
= 588,000 / 168
= 3,500
หน่วย(คน)
2) ถ้าลูกค้าลดลง 10 % จะได้กำไรเดือนละเท่าไร
ขาย 3500 – (3500x10%)
x 380
(3500 –
350 = 3150) x 380 = 1,197,000 บาท
ต้นทุนผันแปร
( 3150 หน่วย x212) =
667,800 บาท
กำไรส่วนเกิน
=
529,000 บาท
ต้นทุนคงที่
=
420,000 บาท
กำไรจากการดำเนินงาน =
109,200 บาท
3)
เพื่อแก้ไขปัญหาลูกค้าลดลง เสรีได้ว่าจ้าง นักดนตรีและนักร้องมาร้องเพลง คืนละ 4
ชม. คิดเป็นเงิน 40,000 บาท/เดือน ทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น จาก 3150 เป็น 3450 คน
จะทำให้เสรีมีกำไรต่อเดือนเท่าไร
ต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้น
420,000+40,000 = 460,000
ลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 3450
คน
ดังนั้น
ขาย (3450 หน่วย x
380) = 1,311,000 บาท
ต้นทุนผันแปร
( 3450 หน่วย x212) =
731,400 บาท
กำไรส่วนเกิน
=
579,600 บาท
ต้นทุนคงที่
= 460,000 บาท
กำไรจากการดำเนินงาน = 119,600 บาท
ส่วนผสมการขาย (Sale Mix)
ตัวอย่างที่
1 บริษัทสินธร จำกัด ขายผลิตภัณฑ์ ก 8,000
หน่วย และผลิตภัณฑ์ ข. 2,000 หน่วย ในระหว่างปีที่ผ่านมา
ต้นทุนคงที่ของบริษัทเท่ากับ 200,000 บาท ข้อมูลอื่น ๆ มีดังนี้
|
ผลิตภัณฑ์ ก
|
ผลิตภัณฑ์ ข
|
ราคาขาย
|
90
|
140
|
ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
|
70
|
95
|
กำไรส่วนเกินต่อหน่วย
|
20
|
45
|
ส่วนผสมการขาย
|
80%
|
20%
|
กำไรส่วนเกินของส่วนผสมการขาย/หน่วย
|
(20x80%) = 16
|
(45x20%) = 9
|
ดังนั้น
กำไรส่วนเกินต่อหน่วย
ของส่วนผสมการขาย ก + ข จึงเท่ากับ 16+9 = 25
จุดคุ้มทุนขาย(หน่วย) = ต้นทุนคงที่ / กำไรส่วนเกิน
= 20,000 / 25
= 8,000 หน่วย
โดยผลิตภัณฑ์
ก 8,000 หน่วย x 80%
= 6,400
โดยผลิตภัณฑ์ ข 8,000 หน่วย x 20%
= 1,600
รวม = 8,000
หน่วย
ส่วนเกินที่ปลอดภัย (Margin of
Safety)
แสดงถึงยอดขายที่อาจลดลงได้ก่อนที่จะขาดทุน เพื่อลดราคา (Discount)
Margin
of Safety = ขาย -
ขาย ณ จุดคุ้มทุน / ขาย
เช่น Margin
of Safety = 250,000 -
200,000 / 250,000
=
20%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น