วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

การวิเคราะห์ความเสี่ยง


ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงมีเรื่องที่ควรพิจารณาดังนี้
1. ในทางการเงินสินทรัพย์ทุกรายการ สามารถประมาณค่ากระแสเงินสด (cash flows) ของสินทรัพย์ได้ ความเสี่ยงของสินทรัพย์จึงหมายถึงความเสี่ยงของกระแสเงินสดของสินทรัพย์นั้น
2. ความเสี่ยงของสินทรัพย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.1 Stand-alone risk เป็นความเสี่ยงเฉพาะตัวของสินทรัพย์ โดยวิเคราะห์ความเสี่ยงได้จากกระแสเงินสดของสินทรัพย์นั้น
2.2 Portfolio risk เป็นความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ โดยนำกระแสเงินสดของสินทรัพย์หลาย ๆ รายการมารวมกัน และวิเคราะห์ความเสี่ยงจากกระแสเงินสดรวมนั้น

มีความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง stand-alone risk กับ portfolio risk กล่าวคือ สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเฉพาะตัวสูง อาจลดความเสี่ยงลงได้ถ้าถือรวมกลุ่มกับสินทรัพย์อื่น ๆ (portfolio)
3. ความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่ประกอบขึ้นเป็นกลุ่มสินทรัพย์ มีองค์ประกอบ 2 ส่วนได้แก่

3.1 ความเสี่ยงที่สามารถกระจายได้ หรือความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Diversifiable risk or Unsystematic risk) หมายถึงความเสี่ยงที่สามารถขจัดให้หมดไปได้ ถ้ามีการกระจายการลงทุนโดยจัดกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน (portfolio)
3.2 ความเสี่ยงตามตลาด หรือความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Market risk or Systematic risk) หมายถึงความเสี่ยงที่ไม่สามารถขจัดให้หมดไปได้แม้จะมีการกระจายการลงทุนอย่างดีเพียงใดก็ตาม ความเสี่ยงประเภทนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดโดยรวมร่วมกันทุกสินทรัพย์ จึงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญสำหรับผู้ลงทุน
4. สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงตามตลาดสูง จะต้องให้อัตราผลตอบแทนที่สูงด้วย จึงจะจูงใจผู้ลงทุนได้ โดยทั่วไปแล้วผู้ลงทุนจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ดังนั้น นักลงทุนจะไม่ซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงนอกเสียจากว่าสินทรัพย์นั้นจะให้ผลตอบแทนที่สูงพอ
5. ในบทนี้จะเน้นที่สินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้นสามัญและหุ้นกู้ แต่ผู้ที่ศึกษาสามารถนำแนวความคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับสินทรัพย์ถาวร เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ โรงงาน เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น