วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

รูปแบบองค์กรธุรกิจ


ในการจัดตั้งองค์กรธุรกิจ  สามารถจัดตั้งได้หลายรูปแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ ลักษณะและขนาดของเงินทุน  หรือขอบข่ายความต้องการในการบริหารงานของเจ้าของกิจการ  โดยแต่ละรูปแบบจะมีขั้นตอนการจัดตั้ง ลักษณะองค์กรตลอดจนข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่สำคัญ 3 รูปคือ
  •   กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship)
  •   ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
  •   บริษัท  (Company)
   กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship)      แหล่งเงินทุนในส่วนของเจ้าของกิจการจะได้มาจากเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวเท่านั้น  ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็กโครงสร้างองค์กรไม่ยุ่งยากซับซ้อน และกิจการจะมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา      
             ข้อดี 
  • รูปแบบองค์กรไม่สลับซับซ้อน
  • ง่ายต่อการจัดตั้งเพราะไม่ต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคลและใช้เงินทุนต่ำ
  • เสียภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา ซึ่งจะทำ ให้กิจการเสียภาษีต่ำลง
  • การตัดสินใจในการบริหารงานสะดวกและรวดเร็ว เพราะขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว
  • กรณีที่กิจการมีผลกำไร  ก็จะเป็นของเจ้าของเพียง คนเดียว  
ข้อเสีย
  • กิจการเจ้าของคนเดียวมีเงินทุนจำกัด
  • เนื่องจากเงินทุนมีจำกัด การขยายกิจการจึงทำได้ยาก
  • โอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจมีน้อย
  • กรณีที่กิจการมีผลขาดทุน เจ้าของกิจการต้อง รับผิดชอบผลขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว
  • ความรู้ความสามารถในการบริหารงานจำกัดเพียง บุคคลคนเดียว คือเจ้าของกิจการเท่านั้น
  • ลูกจ้างของกิจการขาดความก้าวหน้า เนื่องจาก กิจการขนาดเล็ก
     ดังนั้นกิจการเจ้าของคนเดียวจึงถือเป็นรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นประเภทแรกและส่วนใหญ่จะเป็นกิจการขนาดเล็ก  อย่างไรก็ตามธุรกิจไทยส่วนมากจะเริ่มจากกิจการเจ้าของคนเดียวและแปรสภาพมาเป็นรูปของบริษัทในเวลาต่อมาเพื่อต้องการที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่กิจการ  เพราะกิจการเจ้าของคนเดียวจะมีความเสียเปรียบในการแข่งขัน  เมื่อเทียบกับธุรกิจในรูปแบบอื่น ๆ    
 ห้างหุ้นส่วน  (Partnership)      กิจการที่เกิดจากการจัดทำข้อตกลงหรือสัญญาของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ว่าด้วยเรื่องของการลงทุนร่วมกัน  เพื่อประสงค์ที่จะร่วมแบ่งปันผลกำไรและผลขาดทุนอันเกิดจากการดำเนินกิจการ  ซึ่งข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนอาจจะมีขึ้นด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร การร่วมลงทุนนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถนำเอาเงินสดทรัพย์สินอื่น ๆ หรือแรงงานมารลงทุนก็ได้  แล้วแต่ข้อตกลงหรือสัญญาที่ระบุไว้  กิจการห้างหุ้นส่วนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ - ห้างหุ้นส่วนสามัญ  - ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  - ห้างหุ้นส่วนจำกัด      ข้อดี - ข้อเสียของกิจการห้างหุ้นส่วน ข้อดี 
  •   ง่ายต่อการจัดตั้ง เพราะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้  ขึ้นอยู่กับว่าจัดตั้งห้างหุ้นส่วนประเภทใด
  •   สามารถจัดหาเงินทุนได้มากกว่ากิจการแบบเจ้าของคนเดียว เพราะเงินทุนได้มาจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  •   ประสิทธิภาพในการบริหารสูงขึ้น  เพราะความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่นำมาใช้ในการบริหารมิได้มาจากบุคคลเพียงคนเดียว
  •   ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการห้างหุ้นส่วนต่ำ
ข้อเสีย 
  • การที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนชนิดไม่จำกัดความรับผิดชอบจะมีอำนาจในการบริหารงาน  ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง และเกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ
  •   กรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทรับผิดในหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนจะมีความเสี่ยงสูงในการรับผิดชอบชดใช้หนี้สินของห้างด้วยสินทรัพย์ส่วนของตน
  •   อาจขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน  ถ้าหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย ถอนตัวหรือประกาศยกเลิกกิจการตามกฎหมาย 
    บริษัท   (Company)      เป็นกิจการที่มีวิธีการระดมเงินทุนโดยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มูลค่าหุ้น ๆ ละเท่า ๆ กัน  จำนวนหุ้นจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ  การจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบของบริษัทได้รับความนิยมสูงสุ  เนื่องจากสามารถจัดหาหรือระดมเงินทุนได้ง่าย นอกจากนี้บริษัทยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ   - บริษัทจำกัด (Limited Company)    - บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company)
  •   ผู้ถือหุ้นไม่ถึง 100 คนรวมทั้งนิติบุคคลด้วย
  •   มูลค่าหุ้นไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท
  •   ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้สินของบริษัทจำกัดจำนวนเท่าที่ลงทุนไป
  • ผู้เริ่มก่อการ 7 คนขึ้นไป
บริษัทมหาชนจำกัด 
  •   มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป รวมทั้งนิติบุคคล
  •   ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบจำกัดไม่เกินค่าหุ้นที่ต้องชำระ
  •   มีผู้ร่วมก่อการ 15 คนขึ้นไป
ข้อดี - ข้อเสียของบริษัท 
  • สามารถระดมเงินได้ง่าย จึงมีความได้เปรียบในเรื่องขนาดของเงินทุน
  • ได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะธุรกิจในรูปแบบของบริษัท  จะมีขนาดกิจการค่อนข้างใหญ่ ซึ่งจะมีความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนต่อหน่วย
  • ผู้ลงทุนจะรับผิดชอบจำกัดจำนวนเท่ากับเงินที่ลงทุนในหุ้น
  • ง่ายต่อการเลิกลงทุน  โดยวิธีการขายหุ้นต่อให้แก่นักลงทุนรายอื่น ๆ
  • อายุของกิจการค่อนข้างต่อเนื่อง  เพราะกิจการในรูปของบริษัทมีฐานะเป็นนิติบุคคลหากผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งถอนหุ้น  ตาย หรือผู้บริหารไร้ความสามารถจะไม่มีผลทำให้บริษัทต้องเลิกกิจการ
  • การก่อตั้งทำได้ยาก เพราะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
  • เสียค่าใช้จ่ายในการก่อตั้งสูง เพราะจะต้องเสียเงินค่าจดทะเบียนและเสียเวลา
  • ใช้เงินทุนค่อนข้างสูง
  • จะต้องปฏิบัติภายใต้ข้อบังคับกฎหมาย เพราะธุรกิจที่เกิดจากเงินลงทุนคนจำนวนมาก ดังนั้นทางการจึงต้องเข้ามากำกับดูแล  รักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนรายย่อยเพื่อไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างผู้ลงทุน
  • เสียภาษีซ้ำซ้อน คือ จะต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัท อีกทั้งกำไรที่นำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น  ก็จะต้องเสียภาษีอีกครั้งหนึ่ง
  • จะต้องเปิดเผยข้อมูลประจำปีให้สาธารณชนรับทราบ
                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น