คำว่า “งวดบัญชี หรือ รอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้น
จะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้ เช่น
งวด 1 เดือน 3 เดือน 6
เดือน หรือ 1 ปี
แต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
ซึ่งงวดบัญชี หรือ รอบระยะเวลาบัญชีในแต่ละงวดหรือในแต่ละรอบนั้น หมายถึง การที่กิจการจะทำการบันทึกรายการค้าต่างๆ
ที่เกิดขึ้นภายในงวดเวลาที่กำหนดจากนั้นก็จะสรุปออกมาว่าในแต่ละงวดเวลานั้นกิจการมีผลกำไรหรือขากทุนอย่างไร
และเมื่อถึงวันสิ้นงวดนั้นกิจการมีฐานะการเงินอย่างไร เช่น ในงวด 1 เดือนที่ผ่านมา
กิจการมีผลกำไรหรือขาดทุนเท่าไร และในวันสิ้นงวด
1 เดือน กิจการมี สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของคงเหลืออยู่เท่าไรนั้นเอง โดยในการกำหนดงวดบัญชีนี้จะเริ่มต้นวันที่เท่าไรก็ได้
และวันสุดท้ายก็คือ วันสิ้นสุดงวดบัญชีตามที่กำหนดระยะเวลาเป็น
1 เดือน 3เดือน 6เดือน
หรือ1 ปี
ปีการเงิน หรือ ปีบัญชี (fiscal
Year) ในการกำหนดงวดบัญชีเท่ากับ 1 ปี
หรือ 12 เดือนเราก็เรียกงวดบัญชีนั้นว่า
ปีบัญชี หรือ ปีการเงิน ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่เท่าไรก็ได้
เช่น 1 ตุลาคม 2540 – 30 กันยายน 2541 เป็นต้น แต่โดยปกติทั่วไปเพื่อความสะดวกและสอดคล้องต่อการเสียภาษีให้แกรัฐบาล
กิจการส่วนใหญ่ก็จะกำหนดปีการเงิน หรือปีบัญชี
เหมือนกับปีปฎิทิน คือ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของทุกปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น