วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของการบัญชี


การบัญชีเป็นภาษาทางธุรกิจ  ซึ่งผู้เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษานี้เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของเหตุการณ์ทาง  เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตามปกติในทุกๆ วัน  โดยศัพท์ทางบัญชีจะเป็นลักษณะเฉพาะมากขึ้นเมื่อใช้ในการบัญชี  ดังเช่นเราจะได้ยินคำศัพท์  เช่น  สินทรัพย์  หนี้สิน  ส่วนของเจ้าของ  รายได้  ค่าใช้จ่าย  และกำไรขาดทุน  เป็นต้น  การบัญชีจึงเป็นกิจกรรมของการให้บริการซึ่งจะทำหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูลเชิงปริมาณที่เกียวข้องกับรายการทางเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจ
                การบันทึกข้อมูลทางการบัญชีได้ทำกันมานานแล้ว  ไม่น้อยกว่า 5 พันปี  โดยจากหลักฐานที่ปรากฏ  การจดบันทึกข้อมูลและการจดบันทึกข้อมูลบนแผ่นดินเหนียว  มีวิวัฒนาการที่น่าสนใจ  คือ
1.               สมัยอียิปต์  มีการบันทึกข้อมูลทางบัญชี  เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ  ในท้องพระคลัง
2.               สมัยบาปิโลน มีการบันทึกเกี่ยวกับเงินและทองคำที่ได้รับ  โดยมีการระบุวันที่รับ  ชื่อผู้รับ  และชื่อผู้ให้
3.               สมัยกรีก  มีการพัฒนาปรับปรุงในเรื่องของข้อมูลในการรับและจ่ายประจำงวดตลอดจนการคำนวณหายอดคงเหลือต้นงวดปลายงวด  เพื่อต้องการทราบจำนวนทรัพย์สินมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องการคำนวณผลกำไร
4.               สมัยโรมัน  มีการบันทึกทางการบัญชีเกขึ้น  ในลักษณะของการบันทึก 2 ด้าน  เหมือนกับหลักบัญชีคู่เพราะมีการบันทึกรายการที่เกิดขึ้นว่ารับมากจากใคร  และจ่ายให้ใครเป็นจำนวนเท่าไหร่
            พัฒนาการทางด้านบัญชี  ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่  การบัญชีแพร่หลายในยุโรปสมัยกลางของประวัติศาสตร์ก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของระบบขุนนางหรือศักดินาในขณะนั้น  ในสมัยต่อมาเมื่อระบบเศรษฐกิจเป็นระบบคฤหาสน์  การบัญชีจำเป็นต้องขยายตัวให้เยงพอกับความต้องการและความจำเป็นของระบบนั้นด้วย  ระบบบัญชีคู่เริ่มเกิดขึ้นในประเทศอิตาลี  ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็เป็นผลเนื่องมาจากขยายตัวทางด้านการหัตถกรรมและพานิชยกรรม  ความต้องการให้มีการบันทึก  การจัดหมวดหมู่รายการตลอดจนการเสนอผลสรุปของการค้าที่ขยายตัวขึ้น  ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงวิธีการบัญชีให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่เป็นมาแต่ก่อน
           การบัญชีในประเทศไทย  เริ่มมีตั้งแต่สมัยอยุธยาในช่วงปี  พ.ศ. 2193 – 2231 ตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ในสมัยนี้ประเทศไทยได้มีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศยุโรป  คือ  อังกฤษ  ฝรั่งเศส  และโปรตุเกส  เป็นต้น  บัญชีที่ถูกจัดทำขึ้นเป็นบัญชีแรก  คือบัญชีเงินสด  และได้ถือปฎิบัติมาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มจัดทำบัญชีเงินพระคลังเป็นหมวดหมู่  และวิชาการบัญชีก็ได้เริ่มมีการศึกษากัน  เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นกัน  กล่าวคือในปี  พ.ศ. 2482  พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดกล้า  ให้บรรจุเรื่องการบัญชีเป็นสาขาหนึ่งใน 8 อย่างของชั้นประโยค 2 ซึ่งเป็นชั้นเรียนสูงสุดของการเรียนสมัยนั้น  แต่เป็นเพียงการทำบัญชีเกี่ยวกับการเงินเท่านั้น  ยังไม่ใช่หลักการบัญชีคู่ที่แท้จริง  ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตรงกับสมัยราชกาลที่ 6 พระองค์ทรงโปรดคัดเลือกบุตรข้าราชการส่งไปเรียนด้านพาณิชย์และบัญชีที่ประเทศอังกฤษ  ด้วยเหตุการณ์ข้างตันนี้ทำให้การบัญชีของไทยสมัยนั้นเป็นแบบอังกฤษ  นอกจากนั้นยังโปรดให้ตั้งโรงเรียนพาณิชยการขึ้น 2 แห่ง  คือ  โรงเรียนพาณิชยการวัดสามพระยา  และโรงเรียนพาณิชยการวัดแก้วฟ้า  โดยมีการสอนบัญชีคู่เป็นครั้งแรกในโรงเรียนดังกล่าวและมีบัญชีเพียง 3 เล่น  คือ  สมุดบัญชีเงินสด  สมุดรายวัน  และสมุดแยกประเภท  ในปี พ.ศ. 2481  ได้จัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ออกกฎหมายพระราชบัญญัติบัญชีขึ้น  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลัด 3 ประการคือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น