การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต
1. เป็นวิธีการรวบรวมและสะสมต้นทุนการผลิตของกิจการที่มีการผลิตต่อเนื่องกันไป มักใช้ในกิจการที่ผลิตสินค้าจำนวนมาก
2. การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าในงวดบัญชี จะใช้วิธีการถัวเฉลี่ยความสำเร็จของงานให้อยู่ในรูปของหน่วยเทียบสำเร็จรูป (Equivalent Units) เสียก่อน เนื่องจากลักษณะของการผลิตมีความต่อเนื่องกันไปตลอด
3. มีการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต แยกตามแผนกผลิต (โดยปกตินิยมรวบรวมต้นทุนตามงวดเวลา 1 เดือน)
ข้อแตกต่างระหว่างการบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ และการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต
1. คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของงาน เมื่องานผลิตเสร็จ |
1.
คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของงาน ตามงวดเวลา
|
2. ผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า
|
2. ผลิตสินค้าเพื่อขายโดยทั่วไป
|
3. ลักษณะของสินค้าแตกต่างกันตามความต้องการของลูกค้า
|
3. ลักษณะของสินค้ามีมาตรฐานเป็นแบบเดียวกัน
|
4. รวบรวมต้นทุนโดยใช้บัตรต้นทุนงาน
ตามเลขที่งาน
|
4. รวบรวมต้นทุนแต่ละแผนกโดยใช้รายงานต้นทุนการผลิต
|
5. คิดต้นทุนทุกประเภทเข้างานแต่ละงานได้โดยตรง
|
5. คิดต้นทุนสะสมตามแผนกการผลิต เมื่อรวบรวมครบทุกแผนกผลิตแล้ว จึงโอนต้นทุนเข้าสู่สินค้าสำเร็จรูป
|
การคำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูป (EU.) จะคำนวณแยกตามปัจจัยการผลิตโดยคำนึงจุดที่มีการป้อนปัจจัยการผลิตแต่ละชนิดเข้าสู่กระบวนการผลิต หากปัจจัยการผลิตมีการนำเข้าสู่กระบวนการผลิตพร้อมกัน สามารถที่จะนำมาคำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูปไปด้วยกันได้ เช่น ค่าแรงงานทางตรง (DL) และค่าใช้จ่ายการผลิต (OH) ซึ่งมักเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดกระบวนการผลิตจึงนำมารวมคำนวณภายใต้ หัวข้อ ต้นทุนเปลี่ยนสภาพ
(CC : Conversion cost)
(CC : Conversion cost)
นอกจากนี้ยังขึ้นกับวิธีการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยว่ากิจการต้องการใช้
1. วิธีเข้าก่อน
– ออกก่อน (First – in, First – out หรือ FIFO)
2. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted – Average หรือ
WA)
การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต : มีขั้นตอนในการรวบรวมและคำนวณเป็น
5 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 : แสดงการกระทบยอดหน่วยนับของหน่วยผลิต ในรูปของหน่วยนับได้
หน่วยนับ Input = หน่วยนับ Output
ขั้นที่ 2 : คำนวณหน่วยนับ Output ในรูปของหน่วยเทียบสำเร็จรูป
ขั้นที่ 3 : รวบรวมต้นทุนทั้งหมดที่ป้อนเข้าสู่แผนกผลิต (รวมถึงต้นทุนที่รับโอนมาจากแผนกก่อนหน้า)
ขั้นที่ 4 : คำนวณต้นทุนต่อหน่วยเทียบสำเร็จรูป แยกตาม ปัจจัยการผลิต
ขั้นที่ 5 : กระทบยอดและสรุปต้นทุนทั้งหมดที่โอนออกจากแผนกผลิต รวมถึงต้นทุนของงานระหว่างทำคงเหลือปลายงวด
- ต้นทุนต่อหน่วย EU ตามวิธี WA
=
ต้นทุน WIP ต้นงวด
+ ต้นทุนปัจจุบัน
EU ของหน่วยผลิตต้นงวด + ปัจจุบัน
EU ของหน่วยผลิตต้นงวด + ปัจจุบัน
-
ต้นทุนต่อหน่วย EU ตามวิธี
FIFO
= ต้นทุนปัจจุบัน
EU ของหน่วยผลิตที่ป้อนเข้าในงวดปัจจุบัน
การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตเมื่อเกิดหน่วยเสีย (Spoilage Units)
- หน่วยเสียที่ถูกตรวจพบ ตามจุดตรวจสอบ โดยปกติจะถูกดึงออกจากกระบวนการผลิตทันทีที่พบ
- หน่วยเสียปกติ (NS : Normal Spoilage) เป็นหน่วยเสียที่เกิดขึ้นภายใต้สภาวะการผลิตปกติ โดยปกติจะตัดสินใจยอมรับต้นทุนของ NS ให้เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน
การผลิตหน่วยดี
- หน่วยเสียปกติ (AS : Abnormal Spoilage) เป็นหน่วยเสียที่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากมีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนของ AS จะถูกรวบรวมและนำไปแสดง
ยอดขาดทุนจาก AS ในงบกำไรขาดทุนประจำงวดนั้น ๆ
- หน่วยเสียปกติ (NS : Normal Spoilage) เป็นหน่วยเสียที่เกิดขึ้นภายใต้สภาวะการผลิตปกติ โดยปกติจะตัดสินใจยอมรับต้นทุนของ NS ให้เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน
การผลิตหน่วยดี
- หน่วยเสียปกติ (AS : Abnormal Spoilage) เป็นหน่วยเสียที่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากมีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนของ AS จะถูกรวบรวมและนำไปแสดง
ยอดขาดทุนจาก AS ในงบกำไรขาดทุนประจำงวดนั้น ๆ
ถ้าค่า EQU มันผิดจะส่งผลกระทบอะไรบ้างคะ?
ตอบลบ