เดิมเป้าหมายในการประกอบธุรกิจ
คือการแสวงหากำไรสูงสุด(Maximized Profit) ในการพิจารณากำไรนั้นสามารถแยกพิจารณาได้
2 ลักษณะ คือ กำไรรวมที่ได้รับและกำไรต่อหุ้น
แต่ในปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันมากขึ้น นอกจากนี้ธุรกิจมีบทบาทในการรับผิดชอบต่อบุคคลหลายกลุ่มในสังคม
จึงทำให้เป้าหมายในการประกอบธุรกิจเปลี่ยนแนวความคิดจากเดิมเพื่อแสวงหากำไรสูงสุดเป็นแนวความคิดใหม่
คือ เพื่อให้มีความมั่งคั่งสูงสุด (Maximized Wealth) หรืการพยายามทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุด
(Maximized Value of the Firm) สิ่งที่จะสะท้อนถึงผลประโยชน์สูงสุดที่ผู้ถือหุ้นได้รับ
ธุรกิจที่เป็นบริษัท สามารถพิจารณาได้จาก ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงสุด
อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหารการเงินไม่ใช้กำไรสูงสุดมาเป็นเป้าหมายในการบริหารทางการเงิน
เพราะมีข้อบังคับอยู่หลายประการ คือ
1. ไม่ได้คำนึงถึงค่าของเงินตามกาลเวลา (Time
Value of Money) คือ ไ ม่ได้ให้ความสำคัญของมูลค่าเงินที่เปลี่ยนไปตามเวลา
2. ไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง
เนื่องจากธุรกิจต้องการกำไรสูงสุด ดังนั้น ผู้บริหารจะยอมรับโครงการลงทุนที่ให้กำไรสูงสุดโดยไม่ได้สนใจในเรื่องความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
โครงการที่มีผลกำไรสูง โดยทั่วไปมักจะมีความเสี่ยงสูง ถ้าผู้บริหารมุ้งจะพิจารณาแต่กำไรต่อหุ้นย่อมทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้
เพราะไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงของธุรกิจหรือธุรกิจที่มีกำไรต่อหุ้นเท่ากัน ก็ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงของธุรกิจจะเท่ากัน
3. วิธีการบันทึกทางบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป มีหลายวิธี เช่น การตีราคาสินค้าคงเหลือและการคิดค่าเสื่อมราคา เป็นต้น นอกจากนี้
ถ้ามีการเปรียบเทียบบริษัทสองบริษัทที่นำมาวิเคราะห์ ซึ่งมีวิธีการบันทึกบัญชีที่แตกต่างกัน
ก็จะไม่สามารถวัดได้ว่าบริษัทไหนดีกว่ากันถ้าบริษัททั้งสองมียอดขายที่ ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายสินทรัพย์ถาวรสุทธิเท่ากันแต่ใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคาแตกต่างกัน
4. นโยบายการจัดหาเงินทุน
กรณีธุรกิจจัดหาเงินทุนจากการกู้ยืม ดอกเบี้ยจ่ายถือเป็นรายจ่ายก่อนคำนวณภาษี มีผลทำให้กำไรสุทธิของธุรกิจลดลง
5. ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบของนโยบายเงินปันผล
ถ้าธุรกิจต้องการกำไรสูงสุดธุรกิจจะไม่ยอมจ่ายเงินปันผล แต่จะนำกำไรที่ได้รับไปลงทุนต่อเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้น
ผู้ถือหุ้นจะไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นตัวเงินในปัจจุบันจึงมีผลกระทบ
ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญของธุรกิจลดลง ดังนั้นเป้าหมายกำไรสูงสุดจึงมีข้อบกพร่อง
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป้าหมายทางธุรกิจจึงมีแนวคิดใหม่ โดยการดำเนินธุรกิจจะมุ้งเน้นให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุด
(Maximized Value of the Firm) เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีความมั่งคั่งสูงสุด
( Maximized Wealth ) การทำให้เกิดความมั่งคั่งสูงสุดพิจารณาได้จากราคาของตลาดหุ้นสามัญที่สูงสุด
แต่ราคาของตลาดหุ้นสามัญมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้นสามัญประกอบด้วย
ปัจจัยภายนอก เป็นสิ่งที่กระทบต่อธุรกิจ
และเป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่สามารถความคุมได้ เช่น ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
การเมือง ราคาน้ำมัน อัตราภาษี เป็นต้น
ปัจจัยภายใน เป็นสิ่งที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ ได้แก่
ฐานะทางการเงินของธุรกิจ ความเสียงและความมั่นคงของธุรกิจ เป็นต้น
มูลค่าของธุรกิจที่เป็นบริษัท สามารถวัดได้จากกมูลค่ารวมของราคาตลาดหุ้นสามัญที่ธรกิจนำออกมาจำหน่าย
ผู้บริหารทางการเงินต้องพยายามทำให้มูลค่าของธุรกิจมีค่าสูงสุด ปัจจัยที่กำหนดมูลค่าของธุรกิจ
1.
ความสามารถในการทำกำไร
2. ความเสี่ยง
ปัจจัยที่กระทบต่อมูลค่าของธุรกิจ ได้แก่
1. ประเภทของธุรกิจ
ธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความสามารถในการทำกำไร และความเสสี่ยงแตกต่างกัน ธุรกิจมีความสามารถในการทำกำไรสูงสุดจะมีความเสี่ยงสูง
ส่วนธุรกิจที่มีความสามารถในการทำกำไรต่ำจะมีความเสียงต่ำตาม
2. ขนาดของธุรกิจ
ธุรกิจที่มีเงินทุนมากความเสี่ยงจะสูงและมีโอกาสที่จะทำกำไรสูง แต่ธุรกิจที่ใช้เงินทุนน้อยจะมีความเสี่ยงต่ำ
และมีโอกาสที่จะทำกำไรน้อย
3. ชนิดของเครื่องจักร
ธุรกิจที่ลงทุนใช้เครื่องจักรที่มีคุณภาพสูง มักจะใช้เงินลงทุนสูงประสิทธิภาพในการผลิตจะสูงด้วย
ทำให้ความสามารถในการทำกำไรสูง และความเสี่ยงก็จะสูงด้วย
4. การใช้ประโยชน์จากหนี้
ธุรกิจที่กู้ยืมเงินมาลงทุนมาก ต้นทุนของเงินทุนต่ำทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงจะสูง
ตรงกันข้ามถ้ายืมเงินมาลงงทุนน้อย กำไรก็จะน้อย และความเสี่ยงต่ำ
สภาพคล่อง ธุรกิจที่ต้องการสภาพคล่องสูงเงินทุนหมุนเวียนจะมาก และลงทุนในสินทรัพย์ไมหมุนเวียนน้อย
กำไรก็จะน้อย ถ้าธุรกิจต้องการกำไรมาก ก็จะลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนน้อย
และจะลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมากทำให้สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง กำไรสูง
ขอทราบรายละเอียดผู้เขียน
ตอบลบ