วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

การวิเคราะห์สินทรัพย์ระยะยาว


ต้นทุนของสินทรัพย์ประกอบด้วย
1.             ราคาซื้อ(ตามใบ Invoices)
2.             ภาษีขาย(Sale TAX)
3.             ค่าขนย้ายกับค่าประกัน
4.             ค่าติดตั้ง
ประเด็นโต้แย้งของหลักการในการรับรู้ต้นทุนของสิทรัพย์ระยะยาว
1.             ต้นทุนบางอย่างที่เกิดจากการได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้นควรนำมารวมเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ด้วยหรือไม่ เช่น ต้นทุนดอกเบี้ยของงานระหว่างก่อสร้าง
2.             ค่าใช้จ่าย R&Dและต้นทุนในการพัฒนา Software ควรนำมาCapเป็นสินทรัพย์หรือไม่
3.             ควรใช้วิธการบัญชีเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของต้นทุนของการได้มาซึ่งน้ำมันและแก๊สเป็นสินทัพนย์อย่างไร
*ในการเลือกนโยบายการับรู้ต้นทุนที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ว่าจะ Cap           หรือว่าจะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดทันทีนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวเลขใน B/S P/L และ CF ซึ่งทำให้ส่งผลต่อการวิเคราะห์ Ratio ในระยะยาว
ผลกระทบของการCap หรือการรับรู้เป็น Expenseที่มีต่อตัวเลขในงยการเงิน
                เมื่อเปรียบเทียบบริษัท 2 บริษัทโดยบริษัทหรึ่งเลือกรับรู้ต้นทุนเป็นสินทรัพย์โดย Cap เป็นสินทรัพย์ กับ บริษัทที่รับรู้เป็นค่าใช้จจ่าย พบว่า
-         บริษัทที่เลือก Cap จะมี NI ที่ Smooth กว่า แต่กินการที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเลย NI จะมีค่าความผันผวนมากกว่า (Cap ความผันผวนของกำไร < ความผันผวนของกำไรที่ถือเป็นค่าใช้จ่าย)
-         ROA ของบริษัทที่เลือก Cap ต้นทุน จะมีความสม่ำเสมอมากกว่าบริษัทที่เลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเพราะว่าบรัทเลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายจะทำให้ NI มีความผันผวนจึงมี ROA ที่มันผันผวน(CapความผันผวนของROA < ความผันผวนของROAที่ถือเป็นค่าใช้จ่าย)
-         CFO ของบริษัทที่เลือก Cap ต้นทุนจะสูงกว่าบริษัทที่เลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเพราะ เมื่อบริษัทเลือกที่จะCap เป็นสินทรัพย์ถาวรจะส่งผลให้ ต้นทุนนั้นถูกแสดงเป็น CFI แต่ถ้าเลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายต้นทุนนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของ CFO (Exp :   à    Low NI    à    Low CFO) จึงทำให้บริษัทที่เลือก Cap เป็นสินทรัพย์มี CFO สูงเกินไป (CFOCAP < CFOEXP)
**บริษัทที่มีการเลือกนโยบายในการรับรู้ต้นทุนบางอย่างของสินทรัพย์แตกต่างย่อมมีผลทำให้ตัวเลขของ Ratio ต่างกัน เช่นบริษัทสองบริษัทมีต้นทุนของสินทรัพย์ที่สามารถเลือกรับรู้ได้ซึงพบว่าบริษัท A เลือกที่จะ Cap เป้นสินทรัพย์แต่ยริษัท B เลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย จึงส่งผลดังนี้
                               
NI:          A ผันผวน< B
                                ROA:     A สม่ำเสมอกว่า B
                                CFO:      A> B
                                Asset:     A>B
                                D/E:       A<B

บริษัทที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่าย
                ð มีสินทรัพย์ที่ต่ำกว่า บริษัทที่เลือก Cap
                ðEquity ที่ต่ำกว่า บริษัทที่Cap
                ðD/E Ratio ต่ำกว่าบริษัทที่ Cap
ต้นทุนของดอกเบี้ยการกู้ยืมที่นำมา Cap ได้
                ตาม SFAS34 ต้นทุนของดอกเบี้ยการกู้ยืมที่นำมา Capได้จะต้องเป็นดอกเยี้บของสินทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างสาเหตุที่กำหนดเช่นนั้น
                 มีการโต้แย้งSFAS34 โดยให้เหตุผลว่าต้นทุนดอกเบี้ยจากการกู้ยืมนั้นไม่ควรนำมารวมเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ เพราะว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นเป็นผลมาจาก Financial Decision (การตัดสินใจด้านโครงสร้างทางการเงิน)ไม่ได้เกิดจาก Operating Decision เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยจ่ายก็ควรจะต้องถือเป็น Financial Cost จึงไม่ควรนำมารวมเป้นสินทรัพย์
                ซึ่งถ้าบริษัทนำมารวมเป็นสินทรัพย์ ตาม SFAS34 ได้ระบุไว้นั้นก็จะกลายเป็นว่า สินทรัพย์ของบริษัทจะมากหรือนั้นนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ทางโครงสร้างการเงินของผู้บริหาร ว่าต้องการให้มีสินทรัพย์สูงหรือต่ำ
                                                ต้องสินทรัพย์สูงà กู้เยอะ
ต้องสินทรัพย์ต่ำà กู้น้อย
                อาจารย์ White จึงสนับสนุนว่ากิจการควรรับรู้ดอกเบี้ยเป็นค่าใช้จ่ายดีกว่า Cap เป็นสินทรัพย์ (ไม่เห็นด้วยกับSFAS34) ดังนั้นในการวิเคราะห์งบการเงินนักวิเคราะห์ควรจะสนใจดอกเบี้ยการกู้ยืมซึ่งต้องมีการ Adjust
1.             งบนั้นได้มีการนำดอกเบี้ยไปCap ไว้เป็นต้นทุนของสินทรัพย์ ก็ต้องลดสินทรัพย์ด้วยจำนวนที่ไปCapเป็นสินทรัพย์ไว้แล้วนำไปบวกเพิ่มในดอกเบี้ยจ่ายที่แสดงใน P/L เพราะฉะนั้นใน P/Lจะมี NIลดลงด้วยจำนวนดอกเบี้ยที่นำไปCapไว้ (ในการลดสินทรัพย์ถาวรด้วยจำนวนดอกเบี้ยที่Capไว้นั้น ก็จะมีผลต่อDepreciation ซึ่งมีผลน้อยมากและไม่มีนัยสำคัญ จึวไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนแปลง Depreciation)
2.             ในการที่บริษัทเลือกCapดอกเบี้ยเป็นสินทรัพย์นั้น จะทำให้เกิดการจัดประเภทรายการที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้ เพราะว่าถ้ากิจการเลือกที่จะ Cap ดอกเบี้ย นั้นต้องรวมอยู่ใน CFI แต่ในความเป็นจริงแล้วดอกเบี้ยนั้นเกิดจากการกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน มันจึงไม่ต้องจัดอยู่ใน CFI แต่มันควรจัดอยู่ใน CFF หรือ CFO ก็ได้(ตามที่มาตรฐานไทยได้กำหนดไว้)
ในการจะคำนวน TIE or Interest Coverage Ratio ซึ่ง = NI/INT    INT ที่นำมาใช้ต้องเป็นตัวหลัง Adjust ดอกเบี้ยที่ได้ Cap ไว้แล้วส่วน NI ก็ควรจะให้ตัวหลัง Adjust เช่นกัน

ตามมาตรฐานการบัญชีของไทย ฉบับที่ 33(IAS23)
                นิยามสินทรัพยที่เข้าเงื่อนไข คือ สินทรัพยที่ต้องใช้ระบรเวลานานในการเตรียมพร้อมเพื่อนำมาใช้หรือนำไปขาย
                ต้นทุนการกูยืม คือ ดอกเบี้ยและต้นทุนอื่นที่เกิดจากการกู้ยืม
                แนวทางที่ถือปฏิบัติ คือ ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันที(เหมือนอาจารย์ White)
                แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ คือ ต้นทุนการกูยืมของสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขอาจ Cap เป็น ราคาทุนของสินทรัพย์ได้ (ถ้าเป็นไปตามหลักการรับรู้รายการ 2 ข้อ)
                กรณที่Capเป็นสินทรัพย์จะต้องหยุดรวมเมื่อ
1.             หยุดพัฒนาสินทรัพย์เป็นแวลาต่อเนื่อง
2.             ดำเนินการให้สินทรัพย์พร้อมใช้หรือพร้อมขายโดยส่วนใหญ่ได้เสร็จแล้ว
3.             เมื่อสร้างสินทรัพย์บางส่วนเสร็จแล้วได้ใช้บางส่วนแล้วต้องหยุดรวมในส่วนที่สร้างเสร็จ
สิ่งที่กิจการต้องเปิดเผยถ้าเลือกที่จะ Capเป็นสินทรัพย์
1.             นโยบายการบัญชีที่ใช้
2.             จำนวนชองต้นทุนในงวดนั้นที่ได้Capเป็นสินทรัพย์
3.             อัตราการตั้งขึ้นเป็นทุน(ดอกเบี้ยถัวเฉลี่ย)ที่ใช้ในการคำนวน
Intangible Asset (สินทรัพย์ไม่มีตัวตน)
                ประเด็นที่เป็นปัญหารของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนก็คือการจัดกการได้ยาก เช่น
1.             ในการจะแยกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการพัฒนา เพื่อนำมา Cap นั้น ยังไม่สามารถแยกออกมาเป็นจำนวนได้ชัดเจน
2.             ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาถ้าเลือกที่จะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายนั้นจะรับรู้กี่ปี ซึ่งไม่สามารถวัดได้ชัดเจนว่ามันสามารถให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้กี่ปี
3.             Brand Name ต่างถ้าจะรับรู้และจะรับรู้ซักกี่ปี
ตามมาตรฐานไทยฉบับที่ 51 (IAS38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
                ได้ระบุการรับรู้ ค่าวิจัยและพัฒนา ว่า
                ค่าวิจัย รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันทีในงวดที่เกิดขึ้น
                ค่าพัฒนา สามารถ Cap เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ถ้าเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
1.             มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคว่าสามารถพัฒนาสินทรัพย์นั้นมาใช้ประโยชน์หรือนำมาขาย
2.             มีความตั้งใจที่จะทำให้เสร็จเพื่อนำมาใช้ประโยชน์หรือขาย
3.             มีความสามารถในการใช้ประโยชน์หรือนำมาขาย
4.             สามารถแสดงให้เห็นวิธีที่จะนำสินทรัพย์ที่พัฒนาไปก่อประโยชน์ได้
5.             กิจการที่มีทรัพยากรต่างๆเพียงพอที่จะพัฒนาสินทรัพย์นั้นจนเสร็จและนำไปใช้ประโยชน์หรือนำไปขายได้
6.             สามารถวัดมูลค่าของรายจ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการพัฒนาได้อย่างน่าเชื่อถือ

กรณีเป็นไปตามเงื่อนไข หรือสามารถรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้แล้วก็ไม่สามารถถือสินทรัพย์นั้นไว้ตลอดได้ กิจการต้องทยอยรับรู้เป้นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดบัญชี โดยตามมาตรฐานไทยได้ระบุว่าในการตัดจำหน่ายสิทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายนั้นถ้าไม่สามารถกำหนดรูปแบบของการใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้อย่างเชื่อถือืกิจการต้องใช้การตัดจำหน่ายตามวิธีเส้นตรงไม่เกิน 20 ปี
**ตาม SFAS5 ได้กำหนดให้บันทึกค่า R&D เป้นค่าใช้จ่ายทันที
**วิธีการบัญชีของ R&D คือ
-         รับรู้เป็นค่ใช้จ่ายทันทีในงวดที่เกิด(Write-Off)
-         ทยอยรับรู้เป้นค่าใช้จ่ายตลอดอายุเชิงเศรษฐกิจ
 Asset Revaluation (การตีราคาสินทรัพย์ใหม่)
                เหตุผลของการตีราคาสินทรัพย์ถาวรใหม่ ก็เพื่อให้แสดงมูลค Market Value ซึ่งมันสามารถให้มัลค่าที่มีประโยชน์กว่าการแสดงด้วย Historical Cost
                ภายใต้ U.S.GAAP ไม่อนุญาติให้ทำการ Revaluation (การตีราคาสินทรัพย์ใหม่)
มาตรฐานไทย ฉบับที่ 32 (IAS16) ที่ดินอาคารอุปกรณ์
                แนวทางที่กำหนดให้ปฏับัติ คือ แสดงสินทรัพย์ถาวรด้วยราคาทุน หัก ค่าเสื่อราคาสะสมและค่าเผื่อการด้วยค่าสินทรัพย์
                แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ คือ อาจแสดงด้วยราคาที่ตีใหม่ ซึ่งก็คือ มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ณ วันที่ตีราคาใหม่ หักด้วย ค่าเสื่อมราคาสะสมที่คำนวนจากมูลค่ายุติธรรมและหักด้วยค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์
                กรณีที่กิจการมีการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้น จะเกิดส่วนเกินการตีราคาสินทรัพย์อยู่ในEquity ในงบดุล
                กรณีที่กิจการมีการตีราคาสินทรัพย์ลดลง เกิดขาดทุนจากการตีราคารับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
**อาจารย์ White จึงแนะนำว่าก่อนจพทำการวิเคราะห์งบการเงินก็ควรมีการ Adjust รายการบางรายการก่อน

ตัวอย่างที่อาจารย์ ไวท์ ยกให้เห็น
                ในอตสาหกรรมยารักษาโรคจะพบว่า ใน USA  อุตสาหกรรมที่ผลิตยาจะมี ROA ที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งมันเกิดจากการมีกำไรเยอะ และมีสินทรัพย์ต่ำจึงอาจเป็นไปได้ว่าในอุตสาหกรรมผลิตยานั้นจะมีค่า R&D เยอะมาก ซึ่ง GAAP US.ไม่ยอมให้ Cap R&D บางส่วนเป็นสินทรัพย์เลยต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด จึ่งส่งผลให้ Low Asset ð High ROA
               
                ซึงผลดีอีกข้อหนึ่งที่ของการรับรู้เป้นค่าใช้จ่ายก็คือ จำทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกำไรต่ำภาษีต่ำ
Note:  Mandatory = บังคับ
                ** กรณีที่บริษัทเลื่อที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายออย่างเดียวโดยไม่ Cap เลยนั้นมันอาจทำให้ความสามารถในการกู้ยืมของบริษัทลดลงได้เพราะ NI ต่ำ
                ** ได้มีหลักฐานงานวิจัย พบว่า การที่บริษัทสดงให้เห็นว่ามีการพยายามลงทุนลดลงหรือมีการลดลงของการจะขยายการลงทุนเพิ่ม คือ เป็นการส่งสัญญานดีต่อนักลงทุน

การขายหรือการตัดจำหน่ายสินทรัพย์
                มักจะเกิดรายกร กำไร/ขาดทุน จากการจำหน่ายสินทรัพย์ ซึ่งรายการนี้ถือว่าเป็นNonrecurring Item ซึ่งในการวิเคราะห์งบ ควรจะ Adjust รายการนั้นออกก่อน
                ในการสังเกตุเพื่อประโยชน์ในการวิเคาระห์ ถ้าพบว่ากิจการได้มีการขายสินทรัพย์ที่เป็นส่วนสำคัญของการผลิตหรือดำเนินงานมันอาจบอกให้เราทราบอ้อมๆว่ากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้
สำคัญ เช่น เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ หรืออาจปิดกิจการ
                ในบางครั้งรายการ กำไร /ขาดทุน จากการขายสินทรัพย์ถาวร ก็มีผลต่อการวิเคราะห์ของนักลงทุนได้ เช่น
-         ในกรณีที่มีกำไรจากการขายสินทรัพย์ นักวิเคราะห์อาจมองย้อนไปถึงวิธีการคิด ค่าเสื่อมราคาได้ว่า กิจการได้เบื่อกใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคา แบบ Conservative คือ จะรับรู้ค่าใช้จ่ายต่อปีมากๆไว้ก่อน จึงทำให้ตัดค่าเสื่อม ในแต่ละปีค่อนข้างสูง เวลาจะขายจึงทำให้สินทรัพย์ ณ วันที่ขายมีราคาที่ต่ำกว่า จึงมีกำไรจากการขายสินทรัพย์
-         ในกรณีที่มี ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ นักวิเคราะห์ก็อาจมองว่า เป็นไปได้มั้ยที่กิจการเลือกใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมที่ทำให้มีค่าเสื่อมราคาในแต่ละปี ต่ำๆเพื่อให้กำไรสูง ดังนั้น เวลาขายสินทรัพย์สุทธิ จึงแสดงมูลค่าที่สูงเกินไป(Over Value)จึงทำให้ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น