งบการเงินจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ก็ต่อเมื่องบการเงินนั้นมีลักษณะเชิงคุณภาพตามที่แม่บทการบัญชีกำหนดไว้
ลักษณะเชิงคุณภาพ
หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน
ซึ่งประกอบด้วย
1) ความเข้าใจได้
(Understandability)
2) ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance)
- ความมีนัยสำคัญ
(Materiality)
3) ความเชื่อถือได้ (Reliability)
- การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (Faithful
Presentation)
- เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ
(Substance
Over Form)
- ความเป็นกลาง
(neutrality)
- ความระมัดระวัง
(Prudence)
- ความครบถ้วน
(Completeness)
4) การเปรียบเทียบกันได้ (Comparability)
1) ความเข้าใจได้
(Understandability) ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถเข้าใจได้ในทันทีที่ผู้ใช้งบการเงินใช้
ข้อมูลดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องมีข้อสมมุติว่าผู้ใช้งบการเงินมีความรู้ตามควรเกี่ยวกับธุรกิจ กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจและการบัญชี
รวมทั้งมีความตั้งใจตามควรที่จะศึกษาข้อมูลดังกล่าว จึงไม่ใช่เหตุผลที่จะละเว้นการแสดงข้อมูลที่แม้ว่าจะมีความซับซ้อน เพียงเพื่อเหตุผลที่ว่าข้อมูลดังกล่าวยากเกินกว่าที่ผู้ใช้งบบางคนจะเข้าใจ
2) ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) ข้อมูลทางบัญชีที่มีประโยชน์จะต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของข้อมูล
ควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. ช่วยให้ทราบผลลัพธ์ของการตัดสินใจครั้งก่อนซึ่งสามารถนำมาใช้ในการ ตัดสินใจในอนาคต
2. ช่วยในการคาดคะเนหรือยืนยันเหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
3. พร้อมที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ทันต่อเวลา
อย่างไรก็ตาม ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนั้น ควรต้องพิจารณาถึง ความมีนัยสำคัญ (Materiality)
ของข้อมูลนั้นด้วย ซึ่งข้อมูลจะถือว่ามีนัยสำคัญหากการไม่แสดงข้อมูล หรือการแสดงข้อมูลผิดพลาดมีผลกระทบต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และความมีนัยสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดของรายการ หรือขนาดของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใต้สภาพการณ์เฉพาะซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป และ ความมีนัยสำคัญเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าความเป็นลักษณะเชิงคุณภาพซึ่งข้อมูลพึงมี
1. ช่วยให้ทราบผลลัพธ์ของการตัดสินใจครั้งก่อนซึ่งสามารถนำมาใช้ในการ ตัดสินใจในอนาคต
2. ช่วยในการคาดคะเนหรือยืนยันเหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
3. พร้อมที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ทันต่อเวลา
อย่างไรก็ตาม ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนั้น ควรต้องพิจารณาถึง ความมีนัยสำคัญ (Materiality)
ของข้อมูลนั้นด้วย ซึ่งข้อมูลจะถือว่ามีนัยสำคัญหากการไม่แสดงข้อมูล หรือการแสดงข้อมูลผิดพลาดมีผลกระทบต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และความมีนัยสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดของรายการ หรือขนาดของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใต้สภาพการณ์เฉพาะซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป และ ความมีนัยสำคัญเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าความเป็นลักษณะเชิงคุณภาพซึ่งข้อมูลพึงมี
3) ความเชื่อถือได้ (Reliability) ข้อมูลที่นำเสนอต้องปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญและความลำเอียง ไม่ว่าจะจงใจกระทำหรือไม่จงใจ เพื่อผู้ใช้ข้อมูลสามารถเชื่อได้ว่าข้อมูลนั้นเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของข้อมูลที่ต้องการให้แสดงหรือควรแสดง
- ความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม ข้อมูลที่แสดงในงบการเงินต้องแสดงตามความเป็นจริงที่ควรแสดง
- เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ ข้อมูลทางบัญชีต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจมากกว่าแสงดงตามรูปแบบทางกฎหมาย เช่นสัญญาเช่าทางการเงิน
- ความเป็นกลาง การนำเสนอข้อมูลในงบการเงินต้องปราศจากความลำเอียง
4) การเปรียบเทียบกันได้ (Comparability) ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาต่างกัน หรือเปรียบเทียบระหว่างกิจการ
ได้ ซึ่งทำให้สามารถทราบ แนวโน้มของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ ดังนั้นการจัดแสดงหรือจัดประเภทรายการในรูปแบบเดียวกันจำเป็นต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ยกเว้นแต่
ลักษณะการดำเนินงานของกิจการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นสาระสำคัญ เช่น กรณีที่มีการซื้อหรือขายกิจการเกิดขึ้น
ลักษณะการดำเนินงานของกิจการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นสาระสำคัญ เช่น กรณีที่มีการซื้อหรือขายกิจการเกิดขึ้น
- กิจการเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการแสดงและจัดประเภทรายการในงบการเงินใหม่จะทำให้การแสดงงบการเงินมีความเหมาะสมขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงการแสดงและจัดประเภทรายการในงบการเงินเกิดจาก ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี
ข้อจำกัดของงบการเงินที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความเชื่อถือได้
ภายใต้เงื่อนไขของการจัดทำและนำเสนอข้อมูลในงบการเงินให้มีลักษณะเชิงคุณภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความเชื่อถือได้ (Constraints on
Relevant and Reliable Information) มี 3 ประการ ดังนี้
1.
ทันเวลา
(Timelines)
กิจการต้องเสนอข้อมูลที่ทันเวลาเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจได้ในเวลาที่ต้องการ อย่างไรก็ตามการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ได้ทันเวลาอาจทำให้ข้อมูลขาดความครบถ้วน ซึ่งอาจส่งผลต่อความเชื่อถือได้ลดลง
เป็นต้น
2.
ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป
(Balance
between Benefit and Cost) การจัดทำงบการเงินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ผู้จัดทำต้องพิจารณาถึงต้นทุนในการจัดทำข้อมูลนั้นด้วยว่าคุ้มกันหรือไม่ และควรเลือกทางเลือกที่ประโยชน์ข้อมูลต้องมากกว่าต้นทุนที่เสียไป
3.
ความสมดุลของลักษณะเชิงคุณภาพ
(Balance
between Qualitative Characteristics) ผู้จัดทำงบการเงินต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจเลือกความสมดุลระหว่างลักษณะเชิงคุณภาพต่าง ๆ
เพื่อให้งบการเงินบรรลุวัตถุประสงค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น