Framework for F/S Amalysis
- ความต้องการในการวิเคราะห์งบการเงิน
- องค์กรข้ามชาติ มีมาตรฐานการบัญชีที่หลากหลาย
- รายงานทางการเงินที่ได้รับไม่ได้สม่ำเสมอทั่วไป ในบางครั้งต้องระมัดระวังในเรื่องของ
- การรับรู้รายการ (เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ และวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ความเป็นไปได้มี 3 ระดับ )
- การวัดมูลค่า
o ส่วนประกอบข้อมูลอื่นๆ
ที่จะช่วยให้ผู้ใช้รายงานทางการเงินสามารถตีความงบการเงินได้
o ข้อมูลอื่นที่นอกเหนือจากงบการเงินที่จะช่วยในการวิเคราะห์งบการเงิน
เช่น 56-1 (เป็นข้อมูลของงบ, งบการเงิน ที่ประกาศในตลาดหลักทรัพย์) ,ข้อมูลบริษัท,
รายงานประจำปี (56-2 เป็นส่วนประกอบของ 56-1)
o ประเภทของผู้ใช้งบการเงิน
(มีความต้องการต่างกัน มีพื้นฐานที่ต่างกัน)
o
เจ้าหนี้และผู้ลงทุน
o
รัฐบาล
o
สาธารณะทั่วไป
และกลุ่มพิเศษ (เช่น สหภาพแรงงาน, สังคม)
FASB (คณะกรรมการที่จะกำหนดมาตรฐานการบัญชีของอเมริกา
= รายงานทางการเงินมุ่งเน้นที่จะ support investor กับ creditor เป็นเบอร์แรก
โดยให้ความสำคัญกับ investor มากที่สุด
ดังนั้นรายงานทางการเงินจึงมีจุดประสงค์หลัก คือ การตัดสินใจของ investor วัตถุประสงค์หลักของการวิเคราะห์งบการเงินคือ
เพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลตอบแทนกับค่าความเสี่ยง ซึ่งผลตอบแทนเป็นความต้องการของ
investor ความเสี่ยงสูงผลตอบแทนจะสูง
ผลตอบแทนวัดจาก ROE (กำไรหารด้วยEquity) ความเสี่ยงวัดจาก
ความแน่นอนที่จะได้รับผลตอบแทน ,ความผันผวนของผลตอบแทน คือ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = SD (X1-X)2
ถ้าผลตอบแทนที่ได้รับต่างไปจากธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันมากๆ
จะต้องให้ความระมัดระวังก่อนที่จะหยิบตัวเลขมาใส่ในเรโช
ความสนใจของ investor คือ
ดูความสามารถในการทำกำไรในระยะยาว
ความสนใจของ Creditor คือ
ดูสภาพคล่องในระยะสั้นที่จะสามารถจ่ายคืนได้
ระบบงบการเงินของอเมริกา
จะมีองค์กรที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คือ
- SEC เทียบกับในไทยก็คือ กลต. คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และกำกับหลักทรัพย์ ซึ่งมีผลต่อการกำหนดมาตรฐานเป็นเบอร์หนึ่ง เพราะงบการเงินทำเพื่อ investor และ investor มีอยู่มากที่ตลาดหลักทรัพย์ (ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงิน) SEC กำหนดว่าจะต้องมีการจัดทำ MD&A (คำวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ)
- AICPA เป็นองค์กรของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของอเมริกา ที่จัดตั้ง FASB
FAP สภาวิชาชีพบัญชีของไทย
- มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
- IOSCO (เป็น SEC ในระดับนานาชาติ) ออกมาตรฐาน IAS
Corporate
Filing ของไทย
งบการเงินไตรมาสที่ 1
ส่งภายใน 45 วัน
งบการเงินไตรมาสที่ 2
ฉบับสอบทาน ส่งภายใน 45 วัน และส่งงบการเงินประจำงวด 6 เดือน ภายใน 3 เดือน
เป็นทางเลือกที่ 1แต่ถ้าไม่ส่งงบการเงินไตรมาสที่ 2 ฉบับสอบทาน
จะต้องส่งงบการเงินประจำงวด 6 เดือน ภายใน 60 วัน เป็นทางเลือกที่ 2 ซึ่งทางเลือกที่ 1 จะส่งได้ช้ากว่าทางเลือกที่
2 อยู่ 1 เดือน
งบการเงินไตรมาสที่ 3
เหมือนงบไตรมาสที่ 1
งบการเงินไตรมาสที่ 4
และงบประจำงวด 1 ปี เหมือนงบไตรมาสที่ 2 และงบประจำงวด 6 เดือน
แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56- 1 ส่งภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบ (หัวข้อต่างๆ
ได้แก่ 1.ปัจจัยความเสี่ยง 2.ลักษณะการประกอบธุรกิจ
3.การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์ 4.การวิจัยและพัฒนา
5.ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ 6.โครงการในอนาคต 7.ข้อพิพาททางกฎหมาย
8.โครงสร้างเงินทุน 9.การจัดการ 10.การควบคุมภายใน 11.รายการระหว่างกัน
12.ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน 13.ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง)
รายงานประจำปี 56-2 ภายใน
110 วัน สามารถส่งเป็นแบบ ฮาร์ดก๊อปปี้ หรือ ซีดี
FASB
Conceptual Framework (ของอเมริกา)
- คุณภาพหลักเกี่ยวกับการตัดสินใจ
- ความเชื่อถือได้ (Relevance)
o ข้อมูลต้องทันเวลา
(Timeliness)
o ข้อมูลต้องพยากรณ์มูลค่า
& Feedback value
- ความเกี่ยวข้อง (Reliability)
o Verifiability
o Representational
Faithfulness
o Neutrality
- คุณภาพระดับรอง
- การเปรียบเทียบได้ ทั้งเปรียบเทียบคนอื่นและเปรียบเทียบตัวเอง
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
- รายงานประจำปี
o สารจากประธานกรรมการ
พูดถึงทิศทางเป้าหมายขององค์การ
o โครงสร้างองค์การและการจัดการ
o ธรรมชาติของธุรกิจ
o วิสัยทัศน์และพันธกิจ
- MD&A แตกต่างกับหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า
- ผลการดำเนินงาน
- ใช้แหล่งเงินจากทางไหน สภาพคล่อง
- ทิศทางมุมมอง
- แหล่งข้อมูลอื่น
- Company home page (งานวิจัยการเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซด์มีปริมาณไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ขนาด)
- นักวิเคราะห์ (เป็นคนพยากรณ์กำไรได้ดีที่สุด)ซึ่งนักวิเคราะห์ต้องดูหลายๆบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน มูลค่าของกิจการปัจจุบันวัดได้จาก DCF
- รายงานของผู้สอบบัญชี
บทบาทของรายงานของผู้สอบบัญชี
- ผู้สอบบัญชีรับผิดชอบในการดูแลในงบการเงินเป็นไปตามหลักการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
- รายงานของผู้สอบบัญชีจะรับรองใน 3 เรื่องคือ
- งบการเงินจะจัดทำโดยผู้บริหารของบริษัท และรับผิดชอบโดยผู้บริหาร ผู้สอบบัญชีเป็นผู้ทบทวนรายงานของฝ่ายบริหารอย่างเป็นอิสระ
- ผู้สอบบัญชีจะปฏิบัติโดยการใช้มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป (GAAS) โดยให้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผล ว่าไม่มีข้อผิดพลาดอย่างมีสาระสำคัญในงบการเงิน ผู้สอบบัญชีไม่ได้รับประกันว่างบการเงินไม่ผิด หรือไม่มีการทุจริต เพียงแต่ว่าผู้สอบบัญชีได้กระทำการทดสอบในกระบวนการทางบัญชี เพื่อให้ความมั่นใจว่างบการเงินถูกต้อง
- งบการเงินของบริษัทถูกจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป (GAAP) ผู้สอบบัญชีมีความพึงพอใจว่ามีการใช้หลักการบัญชีและการประมาณการที่สมเหตุสมผลของกิจการ
ข้อความสรุปในรายงานของผู้สอบบัญชี
คือ ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบต่อรายงานทางการเงิน
ส่วนผู้สอบบัญชีรับผิดชอบต่อความเห็นในงบจากการตรวจสอบ
ซึ่งได้ปฏิบัติการตรวจสอบตามมาตรฐาน และให้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผล
(เราควรให้ความสำคัญกับหน้ารายงาน เช่นถ้าแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข
ว่าถูกจำกัดขอบเขต ตัวที่จะมีปัญหาคือ สินค้าคงเหลือ)
Reporting on Uncertainties
·
ในบางกรณีมาตรฐานการสอบ
ต้องการอธิบายย่อหน้าที่แสดงความเห็น
ซึ่งอาจมีปัญหาเรื่องความไม่แน่นอนที่จะกระทบต่องบการเงิน
·
การมีปัญหาเรื่อง Going
Concern เช่นทุนติดลบ ขาดทุนสะสมหลายปี
การดำเนินงานต่อเนื่องเป็นสมมุติฐานในการจัดทำงบการเงิน
ถ้าไม่มีสมมุติฐานเรื่องการดำเนินงานต่อเนื่องจะมีปัญหาในการวัดมูลค่ากิจการ คือ
1.การรับรู้รายการ 2.การวัดมูลค่า (จะลดลง) เนื่องจากสินทรัพย์ถูกบังคับขาย
(มีผลต่อนโยบายทางการบัญชี ความอยู่รอดของกิจการ)
เมื่อจะทำการวิเคราะห์จะต้องปรับมูลค่าก่อน
·
ความไม่แน่นอนของมูลค่าของสินทรัพย์
หนี้สิน
·
ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการฟ้องร้องคดี
Changing
Auditors
·
ในหลายกรณี เกิดจากการลดต้นทุนค่าสอบบัญชี หรือประเด็นในเรื่องส่วนตัว
·
ในบางครั้ง
เกิดจากการไม่ลงรอยกันในเรื่องหลักการบัญชี เมื่อมีการเปลี่ยนผู้สอบบัญชี
เราก็ต้องเริ่มตระหนักถึงความสำคัญว่าอาจมีปัญหาในเรื่องของหลักการบัญชี
·
ผู้สอบบัญชีจะสูญเสียลูกค้าไปเมื่อไม่เห็นด้วยกับผู้บริหาร
นักวิเคราะห์บอกว่าควรจะระมัดระวังอย่างมากว่างบการเงินจะมีปัญหา
กระบวนการในการออกมาตรฐาน
1.
ระบุปัญหาทางการบัญชีและนำเรื่องเข้าสู่วาระการประชุม
2. ร่างมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 1 (DM)
3. ทำประชาพิจารณ์ภายใน 60 วัน
และนำเสนอ Board
4. Board จะให้ออกร่างมาตรฐาน
ฉบับที่ 2 (ED)
5. ทำประชาพิจารณ์ภายใน 30 วัน
และนำเสนอ Board
6. Board จะดำเนินการดังนี้
- ออกเป็นมาตรฐาน
- เสนอให้ทบทวนแก้ไข
- เลื่อนการออกมาตรฐานออกไปก่อน
- มาตรฐานฉบับนี้ตกไป
เลิกไปเลย
มาตรฐานการบัญชีของไทย
(TAS)
§ การกำหนดมาตรฐานบัญชีของประเทศต่างๆ
จัดแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ
o
กลุ่ม 1
ถือเอามาตรฐานบัญชีระหว่างประเทศเป็นมาตรฐานบัญชีของประเทศตน
o
กลุ่ม 2 กำหนดมาตรฐานขึ้นใช้เอง
o
กลุ่ม 3 ใช้มาตรฐานบัญชีระหว่างประเทศเป็นเกณฑ์ในการกำหนดมาตรฐานของตนเอง
ประเทศไทยเป็นกลุ่ม 3
เดิมใช้อ้างอิงจาก SFAS
ปัจจุบัน ใช้อ้างอิงจากมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ IFRS (เดิม IAS)
กระบวนการในการจัดทำมาตรฐานในไทย
1.
คณะกรรมการมาตรฐานบัญชี เสนอกำหนดในการปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานการบัญชีของไทย เสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี
และคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี ตามลำดับ
2. จัดทำร่างมาตรฐาน
(ยึดหลัก IAS
แปล IAS จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย)
และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
หลังจากนั้นจัดให้มีการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง
3.
เผยแพร่ร่างมาตรฐาน และจัดเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นเวลา 2 เดือน
4.
รวบรวมความคิดเห็นและนำไปแก้ไขปรับปรุงร่างมาตรฐาน
5.คณะกรรมการ
ส่งร่างมาตรฐานที่ปรับปรุงแล้ว แสนอต่อคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
เพื่อให้ความคิดเห็นภายใน 15 วัน
6. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงร่างมาตรฐาน
และนำร่างมาตรฐานที่ปรับปรุงแล้วเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีให้ความเห็นชอบ
และเสนอต่อคณะกรรมการสภาวิชาชีพ เพื่อพิจารณาอนุมัติ
และประกาศใช้เป็นมาตรฐานการบัญชีของประเทศไทย
7. สภาวิชาชีพบัญชี
ประชาสัมพันธ์เผยแพร่มาตรฐานบัญชีที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการสภาฯ
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
และมีเวลาศึกษาเตรียมความพร้อมในการนำมาตรฐานบัญชีไปใช้อย่างน้อย 6 เดือน
ก่อนที่มาตรฐานบัญชีจะมีผลใช้บังคับ
แม่บททางการบัญชี
วัตถุประสงค์
แม่บทการบัญชี
กำหนดไว้เพื่อวางแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทำ
และนำเสนองบการเงินแก่ผู้ใช้งบการเงินที่เป็นบุคคลภายนอก
ขอบเขตของแม่บทการบัญชี
§ วัตถุประสงค์ของงบการเงิน
§ ลักษณะเชิงคุณภาพ
§ คำนิยาม
การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆ
§ แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน
ผู้ใช้งบการเงิน
§ ผู้ลงทุน
§ ลูกจ้าง
§ ผู้ให้กู้
§ ผู้ขายสินค้าและเจ้าหนี้อื่น
§ ลูกค้า
§ รัฐบาลและหน่วยงานราชการ
§ สาธารณชน
วัตถุประสงค์ของงบการเงิน
§ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน
ผลการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ
เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
§ งบการเงินไม่จำเป็นต้องแสดงข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงิน
§ งบการเงินแสดงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหารในการบริหารทรัพยากรของกิจการ
§ งบการเงินหมายรวมถึงหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ข้อสมมติในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน
§ เกณฑ์คงค้าง
เป็นเรื่องของการรับรู้รายการ
§ การดำเนินงานต่อเนื่อง
เป็นเรื่องของการวัดมูลค่า
ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน
§ ความเข้าใจได้
§ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
o
ความมีนัยสำคัญ
§ ความเชื่อถือได้
o
การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม
o
เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ
o
ความเป็นกลาง
o
ความระมัดระวัง
o
ความครบถ้วน
§ การเปรียบเทียบกันได้
ข้อจำกัดของงบการเงิน
§ ทันต่อเวลา
§ ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป
§ ความสมดุลของลักษณะเชิงคุณภาพ
องค์ประกอบของงบการเงิน
§ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดฐานะการเงินในงบดุล
o
สินทรัพย์
o
หนี้สิน
o
ส่วนของเจ้าของ
§ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดผลการดำเนินงานในงบกำไรขาดทุน
o
รายได้
o
ค่าใช้จ่าย
การรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน
§ มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการจะเข้าหรือออกจากกิจการ
o
Remote
(ห่างไกล)
o
Reasonably
possible (ค่อนข้างแน่) อยู่ในระดับนี้
o
Probable
(เป็นไปได้)
§ รายการดังกล่าวมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
แนวคิดเกี่ยวกับการวัดมูลค่า
§ Historical Cost
§ Current Cost
§ Realizable Value
§ Present Value
แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน
§ แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน
o
เงินที่ลงทุน หรือสินทรัพย์สุทธิ
หรือส่วนของเจ้าของ
o
ทุนที่อยู่ในรูปของกำลังการผลิตที่สามารถใช้ผลิตจริง
แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุนและการวัดผลกำไร
§ การรักษาระดับทุนทางการเงิน
กำไรเกิดขึ้นเมื่อจำนวนที่เป็นตัวเงินของสินทรัพย์สุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีสูงกว่าจำนวนเงินที่เป็นตัวเงินของสินทรัพย์สุทธิเมื่อเริ่มรอบระยะเวลาบัญชี
§ การรักษาระดับทุนทางการผลิต
กำไรเกิดขึ้นเมื่อกำลังการผลิตที่กิจการสามารถใช้ในการผลิตจริงเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีสูงกว่ากำลังผลิตเมื่อเริ่มรอบระยะเวลาบัญชี
กำลังการผลิตสามารถแสดงอยู่ในรูปของทรัพยากรหรือเงินทุนที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้กำลังการผลิตนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น