วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

การแบ่งลักษณะภาษี


   1. ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล     
   2. ภาษีทางอ้อม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต 
    ภาษีศุลกากรภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax )
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีทางตรงจัดเก็บจากฐานเงินได้
จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา และผู้ที่กฎหมายกำหนด
ฐานภาษี จัดเก็บจากเงินได้สุทธิ (ฐานในการคำนวณภาษี)                               
เงินได้พึงประเมิน (แต่ไม่รวมเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น)                               
หัก ค่าใช้จ่ายหัก ค่าลดหย่อนและบริจาค                               
เงินได้สุทธิ แล้วจึงคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า
ระยะเวลาของเงินได้ที่คำนวณ คือ ปีภาษี (ปีปฏิทิน 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.)ชำระภาษีโดยประเมินตนเองภายในวันที่ 31มีนาคมของปีถัดไปภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล   
- นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้  
 - ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล   
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ            
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
- รอบระยะเวลาบัญชี             
- กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล             
 - เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ            
  - เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)            
- อัตราภาษีและการคำนวณภาษี            
- การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี                
ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ 
 - สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
- บัญชีอัตราภาษี  
ภาษีมูลค่าเพิ่ม       ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม               
  - ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม             
    - ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายแต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้  
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กำหนดเวลาการจดทะเบียน                
- สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม               
  - ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม                
 - หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม               
  - การเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม                
 - กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย               
  - การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม                
  - กำหนดเวลา สถานที่ยื่นแบบและการชำระภาษี                
    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม   ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.2 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
   ภาษีสรรพสามิต    คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมกรมสรรพสามิต    มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างจากผู้ผลิตสินค้าหลายประเภท     เรียกว่า ภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
    ภาษีศุลกากรบทบาทของภาษีศุลกากรเพื่อใช้เป็นวัตถุประสงค์ในการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจึงลดน้อยถอยลงตามลำดับ  การเก็บภาษีของรัฐจุดมุ่งหมายของรัฐโดยทั่วไปก็คือการหารายได้เข้ารัฐ  แต่จุดมุ่งหมายรองๆลงมาก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและบริการที่รัฐบาลจัดเก็บภาษีการเก็บภาษีศุลกากร  นอกจากจะเป็นเหตุผลในการหารายได้แล้ว  ความมุ่งหมายหลักก็คือ เพื่อการคุ้มกันการค้าของประเทศเพราะสินค้านำเข้าเมื่อต้องเสียภาษีศุลกากรก็จะมีราคาแพงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตในประเทศอย่างไรก็ตามนโยบายในการกีดกันทางการค้าด้วยภาษีนี้เป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างละเอียดว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร              

รูปแบบองค์กรธุรกิจ


ในการจัดตั้งองค์กรธุรกิจ  สามารถจัดตั้งได้หลายรูปแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ ลักษณะและขนาดของเงินทุน  หรือขอบข่ายความต้องการในการบริหารงานของเจ้าของกิจการ  โดยแต่ละรูปแบบจะมีขั้นตอนการจัดตั้ง ลักษณะองค์กรตลอดจนข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่สำคัญ 3 รูปคือ
  •   กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship)
  •   ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
  •   บริษัท  (Company)
   กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship)      แหล่งเงินทุนในส่วนของเจ้าของกิจการจะได้มาจากเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวเท่านั้น  ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็กโครงสร้างองค์กรไม่ยุ่งยากซับซ้อน และกิจการจะมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา      
             ข้อดี 
  • รูปแบบองค์กรไม่สลับซับซ้อน
  • ง่ายต่อการจัดตั้งเพราะไม่ต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคลและใช้เงินทุนต่ำ
  • เสียภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา ซึ่งจะทำ ให้กิจการเสียภาษีต่ำลง
  • การตัดสินใจในการบริหารงานสะดวกและรวดเร็ว เพราะขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว
  • กรณีที่กิจการมีผลกำไร  ก็จะเป็นของเจ้าของเพียง คนเดียว  
ข้อเสีย
  • กิจการเจ้าของคนเดียวมีเงินทุนจำกัด
  • เนื่องจากเงินทุนมีจำกัด การขยายกิจการจึงทำได้ยาก
  • โอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจมีน้อย
  • กรณีที่กิจการมีผลขาดทุน เจ้าของกิจการต้อง รับผิดชอบผลขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว
  • ความรู้ความสามารถในการบริหารงานจำกัดเพียง บุคคลคนเดียว คือเจ้าของกิจการเท่านั้น
  • ลูกจ้างของกิจการขาดความก้าวหน้า เนื่องจาก กิจการขนาดเล็ก
     ดังนั้นกิจการเจ้าของคนเดียวจึงถือเป็นรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นประเภทแรกและส่วนใหญ่จะเป็นกิจการขนาดเล็ก  อย่างไรก็ตามธุรกิจไทยส่วนมากจะเริ่มจากกิจการเจ้าของคนเดียวและแปรสภาพมาเป็นรูปของบริษัทในเวลาต่อมาเพื่อต้องการที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่กิจการ  เพราะกิจการเจ้าของคนเดียวจะมีความเสียเปรียบในการแข่งขัน  เมื่อเทียบกับธุรกิจในรูปแบบอื่น ๆ    
 ห้างหุ้นส่วน  (Partnership)      กิจการที่เกิดจากการจัดทำข้อตกลงหรือสัญญาของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ว่าด้วยเรื่องของการลงทุนร่วมกัน  เพื่อประสงค์ที่จะร่วมแบ่งปันผลกำไรและผลขาดทุนอันเกิดจากการดำเนินกิจการ  ซึ่งข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนอาจจะมีขึ้นด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร การร่วมลงทุนนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถนำเอาเงินสดทรัพย์สินอื่น ๆ หรือแรงงานมารลงทุนก็ได้  แล้วแต่ข้อตกลงหรือสัญญาที่ระบุไว้  กิจการห้างหุ้นส่วนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ - ห้างหุ้นส่วนสามัญ  - ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  - ห้างหุ้นส่วนจำกัด      ข้อดี - ข้อเสียของกิจการห้างหุ้นส่วน ข้อดี 
  •   ง่ายต่อการจัดตั้ง เพราะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้  ขึ้นอยู่กับว่าจัดตั้งห้างหุ้นส่วนประเภทใด
  •   สามารถจัดหาเงินทุนได้มากกว่ากิจการแบบเจ้าของคนเดียว เพราะเงินทุนได้มาจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  •   ประสิทธิภาพในการบริหารสูงขึ้น  เพราะความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่นำมาใช้ในการบริหารมิได้มาจากบุคคลเพียงคนเดียว
  •   ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการห้างหุ้นส่วนต่ำ
ข้อเสีย 
  • การที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนชนิดไม่จำกัดความรับผิดชอบจะมีอำนาจในการบริหารงาน  ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง และเกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ
  •   กรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทรับผิดในหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนจะมีความเสี่ยงสูงในการรับผิดชอบชดใช้หนี้สินของห้างด้วยสินทรัพย์ส่วนของตน
  •   อาจขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน  ถ้าหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย ถอนตัวหรือประกาศยกเลิกกิจการตามกฎหมาย 
    บริษัท   (Company)      เป็นกิจการที่มีวิธีการระดมเงินทุนโดยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มูลค่าหุ้น ๆ ละเท่า ๆ กัน  จำนวนหุ้นจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ  การจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบของบริษัทได้รับความนิยมสูงสุ  เนื่องจากสามารถจัดหาหรือระดมเงินทุนได้ง่าย นอกจากนี้บริษัทยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ   - บริษัทจำกัด (Limited Company)    - บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company)
  •   ผู้ถือหุ้นไม่ถึง 100 คนรวมทั้งนิติบุคคลด้วย
  •   มูลค่าหุ้นไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท
  •   ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้สินของบริษัทจำกัดจำนวนเท่าที่ลงทุนไป
  • ผู้เริ่มก่อการ 7 คนขึ้นไป
บริษัทมหาชนจำกัด 
  •   มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป รวมทั้งนิติบุคคล
  •   ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบจำกัดไม่เกินค่าหุ้นที่ต้องชำระ
  •   มีผู้ร่วมก่อการ 15 คนขึ้นไป
ข้อดี - ข้อเสียของบริษัท 
  • สามารถระดมเงินได้ง่าย จึงมีความได้เปรียบในเรื่องขนาดของเงินทุน
  • ได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะธุรกิจในรูปแบบของบริษัท  จะมีขนาดกิจการค่อนข้างใหญ่ ซึ่งจะมีความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนต่อหน่วย
  • ผู้ลงทุนจะรับผิดชอบจำกัดจำนวนเท่ากับเงินที่ลงทุนในหุ้น
  • ง่ายต่อการเลิกลงทุน  โดยวิธีการขายหุ้นต่อให้แก่นักลงทุนรายอื่น ๆ
  • อายุของกิจการค่อนข้างต่อเนื่อง  เพราะกิจการในรูปของบริษัทมีฐานะเป็นนิติบุคคลหากผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งถอนหุ้น  ตาย หรือผู้บริหารไร้ความสามารถจะไม่มีผลทำให้บริษัทต้องเลิกกิจการ
  • การก่อตั้งทำได้ยาก เพราะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
  • เสียค่าใช้จ่ายในการก่อตั้งสูง เพราะจะต้องเสียเงินค่าจดทะเบียนและเสียเวลา
  • ใช้เงินทุนค่อนข้างสูง
  • จะต้องปฏิบัติภายใต้ข้อบังคับกฎหมาย เพราะธุรกิจที่เกิดจากเงินลงทุนคนจำนวนมาก ดังนั้นทางการจึงต้องเข้ามากำกับดูแล  รักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนรายย่อยเพื่อไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างผู้ลงทุน
  • เสียภาษีซ้ำซ้อน คือ จะต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัท อีกทั้งกำไรที่นำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น  ก็จะต้องเสียภาษีอีกครั้งหนึ่ง
  • จะต้องเปิดเผยข้อมูลประจำปีให้สาธารณชนรับทราบ
                

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงิน


ไม่ว่าธุรกิจจะมีรูปแบบองค์กรเป็นอย่างไรก็ตาม จะเป็นกิจการขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่  ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่หลักในการบริหารเพื่อทำให้เกิด มูลค่าเพิ่มแก่กิจการ  นั่นหมายถึงการบริหารเพื่อให้เกิดผลกำไรและขยายกิจการให้เกิดความเจริญ เติบโตในอนาคตอันจะส่งผลให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุดแก่กิจการ  (Maximizing Value of the Firm)  ดังนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงินจะมี 5 ประการคือ 
  •   หน้าที่ในการพยากรณ์และวางแผน (Forecasting and Planning)
  •   หน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน (Investment and Financing Decision)
  •   หน้าที่ในการประสานงานและควบคุม (Coordination and Control)
  •   หน้าที่ในการเป็นตัวแทนขององค์กรทำการติดต่อกับตลาดการเงิน (Dealing with the Financial Market)
  •   หน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)  
        หน้าที่ในการพยากรณ์และวางแผน  (Forecasting and Planning) ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่ในการประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์ และวางแผนทางการเงิน ซึ่งการพยากรณ์และการวางแผนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ - การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะสั้น - การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะยาว เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินสดของกิจการว่าเป็นอย่างไร ในแต่ละเดือนมีเงินสดส่วนเกินหรือเงินสดขาดมือจำนวนเท่าใด  ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผนว่าถ้าในเดือนที่กิจการมีเงินสดส่วนเกินควรนำเงินไปลงทุนอย่างไร หรือเดือนใดที่เงินสดขาดมือ  ควรจัดหาเงินสดมาจากแหล่งใด การพยากรณ์และวางแผนการเงินระยะสั้นนี้ช่วยให้กิจการได้ใช้เงินทุนระยะสั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรักษาสภาพคล่องของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการพิจารณาการตัดสินใจลงทุน ซึ่งกิจการต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง  โดยให้ผลตอบแทนในระยะยาว จึงจำเป็นต้องทำการพิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุนข้อมูลที่นำมาประกอบการตัดสินใจต้องเป็นข้อมูลที่มีความแม่นยำเพื่อให้การวิเคราะห์นั้นตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด จึงสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ     
     หน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน (Investment and Financial Decision) ปัญหาการตัดสินใจของผู้บริหารการเงินแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ  ปัญหาการตัดสินใจระยะสั้น      เช่น ปัญหาในกรณีที่กิจการจะทำการผลิตชิ้นส่วนเอง หรือซื้อ  ปัญหาว่าควรขายสินค้า หรือผลิตต่อแล้วขาย หรือปัญหาว่าควรยกเลิกสินค้าที่มีผลขาดทุนหรือไม่   ปัญหาการตัดสินใจระยะยาว ซึ่งหมายถึงโครงการลงทุนต่าง ๆ  เช่น การสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อทดแทนโรงงานเดิม  การผลิตสินค้าใหม่เพิ่มเติม เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระยะสั้นหรือระยะยาว  การตัดสินใจจะมีประเด็นที่สำคัญอยู่ 2 ประการคือ การตัดสินใจจัดหาเงินทุน และการตัดสินใจใช้เงินลงทุน  โดยมีหลักการว่า ในการจัดหาเงินทุนควรเป็นแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำที่สุดและความเสี่ยงต่ำที่สุด  โดยเงินทุนจะได้มาจากหนี้สินและส่วนของเจ้าของ  ซึ่งเงินทุนจากส่วนนี้จะมีต้นทุนในรูปของดอกเบี้ยจ่ายซึ่งจะต่ำกว่า เงินทุนจากส่วนของเจ้าของที่จะมีต้นทุนในรูปของเงินปันผลหรือกำไร(ขาดทุน) นอกจากนี้ความเสี่ยงก็ต่ำกว่าด้วยการตัดสินใจนำเงินทุนไปใช้ แบ่งออกเป็น 2 ทางคือ ใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนซึ่งจะทำให้กิจการมีสภาพคล่องสูง  แต่ความสามารถในการทำกำไรจะต่ำกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร  
  หน้าที่ในการประสานงานและควบคุม  (Coordination and Control)      ในการปฏิบัติงานผู้บริหารการเงินจะต้องประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินกิจการเพื่อมั่นใจว่ากิจการจะมีผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ  การตัดสินใจทุก ๆ ด้านของกิจการจะต้องมีส่วนสัมพันธ์หรือมีผลกับเรื่องของการเงินเสมอ เช่น การตัดสินใจด้านการตลาดเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่จะมีผลกระทบต่อความต้องการในการขยายการลงทุน  การจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม  ผลกระทบต่อความต้องการในการขยายการลงทุน  การจัดหาเงินลงทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม  ผลกระทบต่อนโยบายสินค้าคงคลังและความสามารถในการใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานเหล่านี้จะเกิดประสิทธิภาพได้จะต้องอาศัยการประสานงานกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะนำข้อมูลมาช่วยตัดสินใจในการวางแผนอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน  ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมการดำเนินงานโดยการตรวจสอบและประเมินผลตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่   
หน้าที่ในการเป็นตัวแทนองค์กรทาการติดต่อกับตลาดการเงิน (Dealing with the Financial Market)      ผู้บริหารการเงินจำเป็นต้องติดต่อตลาดการเงินเพื่อการระดมทุน  โดยสามารถแบ่งตลาดการเงินออกได้เป็น 3 ตลาดดังนี้     ตลาดการเงิน (The Financial Market)     ตลาดเงิน (Money Market)     ตลาดทุน (Capital Market)        ทำหน้าที่ในการระดมเงินทุนระยะสั้นที่มีอายุการชำระหนี้ไม่เกิน 1 ปี แหล่งเงินทุนหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นตลาดเงินได้แก่  เจ้าหนี้การค้า เงินเบิกเกินบัญชี (overdraft account) ตลาดรับซื้อคืน (Reperchase Market ) แต่ละตลาดมีหน้าที่ในการระดมเงินทุนหรือจัดหาเงินทุนให้แก่ธุรกิจโดย ทำหน้าที่ในการระดมเงินทุนระยะยาวที่มีอายุการชำระหนี้เกิน 1 ปี  โดยมีแหล่งเงินทุน ได้แก่ เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดOTC       ดังนั้นการที่ธุรกิจจัดหาเงินทุนต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ว่าจะนำเงินไปลงทุนอะไร ถ้าลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ควรจัดหาเงินทุนจากตลาดเงิน  แต่ถ้าต้องการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรควรจัดหาเงินทุนจากตลาดทุน  โดยพิจารณาเงินทุนแต่ละแหล่งว่ามีต้นทุนของเงินทุนและความเสี่ยงเป็นอย่างไร  ซึ่งผู้บริหารควรเลือกแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนและความเสี่ยงต่ำสุด   
 หน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)      กิจการทุก ๆ แห่งต้องเผชิญกับความเสี่ยง 2 ลักษณะ คือ 
  • ความเสี่ยงนอกระบบ (Unsystematic Risk)  เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากภายในองค์กร และองค์การสามารถควบคุมได้ขึ้นอยู่กับ ผู้บริหารขององค์กรว่ามีความสามารถบริหารงานเพื่อขจัดความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด เช่น ความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่องทางการเงินของกิจการ 
  • ความเสี่ยงภายในระบบ (Systematic Risk)  ความเสี่ยงอันเกิดจากภายนอกกิจการ เป็นความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้  ผู้บริหารต้อง มีความสามารถในการพยากรณ์ทิศทางหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เช่น กาเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) หรืออัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Foreign Exchange Rate)  
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ประชากรศาสตร์ ความเสี่ยงในระบบ (Systematic Risk) หน้าที่ต่าง ๆ ภายในองค์กรธุรกิจ 
ความเสี่ยงนอกระบบ (Unsystematic Risk)

พฤติกรรมต้นทุน (Cost Behavior)


ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนการผลิต เช่น วัตถุดิบ ค่าแรงรายชั่วโมง
ตัวอย่างที่ 1 บริษัทวรุณ จำกัด ผลิตเครื่องเล่นเสตอริโอ ภายใต้ยี่ห้อ V-sound บริษัทซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ จากผู้ผลิตรายย่อย (Supplier) ภายนอก ราคาชิ้นละ 10 บาท ดังนั้น ยิ่งต้องการจำนวนมาก ๆ ก็จะทำให้ต้นทุน ในการซื้อเพิ่มขึ้น ถือเป็นต้นทุนผันแปร
โดยที่ ต้นทุนต่อหน่วยจะคงที่ คือ  10 บาท/หน่วย  แต่ต้นทุนรวมจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนหน่วยผลิต

ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือต้นทุนที่ไม่เพิ่มขึ้น จากเดิม แม้จะเพิ่มจำนวนการผลิต เช่น เงินเดือน  เครื่องจักร ค่าเช่า
                ตัวอย่าง สมรเป็นผู้ควบคุมการผลิตของบริษัท น้ำหอมไทย จำกัด โดยได้รับเงินเดือนปีละ 75,00 บาท บริษัทผลิตน้ำหอมปีละ 50,000 300,000 ขวด (ดังนั้นไม่ว่า สมร จะผลิตมาหรือน้อย ก็ได้เงินเดือนเท่าเดิม ถือเป็นต้นทุนคงที่ ยกเว้นจะผลิตเกินไปจาก 300,000 จึงจะต้องจ่ายค่า OT เพิ่มให้กับสมร)

จำนวนขวดที่ผลิต
เงินเดือนสมร
เงินเดือน/ขวดที่ผลิต
50,000
75,000
1.500
100,000
75,000
0.750
150,000
75,000
0.500
200,000
75,000
0.375
250,000
75,000
0.300
300,000
75,000
0.250

ต้นทุนผสม (Mixed Cost) เป็นต้นทุนที่มีทั้งต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร เช่นค่าโทรศัพท์ ถ้ารับอย่างเดียวจะมีต้นทุนคงที่รายเดือน 100 บาท แต่ถ้ามีการโทรออกก็จะเสียค่าโทรเป็นต้นทุนผันแปร
                ตัวอย่าง บริษัทไทยเทคโนโลยี จำกัด ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ โดยเช่าเครื่องมือในอัตราปีละ 15,000 บาท โดยจะบวกเพิ่มอีกชั่วโมงละ 1 บาท ถ้าใช้เกิน 10,000 ชั่วโมง
                ดังนั้น จะต้องแยกส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร ออกมาวิเคราะห์เชิงจัดการ โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น
วิธีกำหนดระดับ สูง-ต่ำ (high – low method) เป็นวิธีการที่ง่ายในการแยกส่วนต้นทุนออกเป็น คงที่และผันแปร
ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย  =  ต้นทุนสูงสุด ต้นทุนต่ำสุด / จำนวนต้นทุนสูงสุด จำนวนต้นทุนต่ำสุด
 
 

               

เช่น
เดือน
ผลิต(หน่วย)
ต้นทุนรวม(บาท)
มิ.ย.
1,000
45,500
ก.ค.
1,500
52,000
ส.ค.
2,100
61,500
ก.ย.
1,800
57,500
ต.ค.
750
41,250

ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย      =  61,500 41,250 / 2,100 750
                                                =   20,250 / 1,350
                                                =   15

ต้นทุนรวม             = (ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย x จำนวนหน่วยที่ผลิต) + ต้นทุนคงที่
 
               


                61,500                                     =  ( 15 x 2,100) + ต้นทุนคงที่
                61,500 -   ( 15 x 2,100)          =  ต้นทุนคงที่
                61,500 -   ( 31,500)                 =  ต้นทุนคงที่
                30,000                                     =  ต้นทุนคงที่
41,250     = (15 x 750) + 30,000
41,250     = (11,250) + 30,000
41,250     = 41,250

 
61,500     = (15 x 2,100) + 30,000
61,500     = (31,500) + 30,000
61,500     = 61,500

 
พิสูจน์
               





งบกำไรส่วนเกิน ( Contribution Margin Income) กำไรส่วนเกินคือ รายได้หลังหักต้นทุนผันแปร ที่สามารถนำไปชดเชยต้นทุนคงที่ และมีเหลือเป็นกำไรจากการดำเนินงาน
ขาย         =  ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่ + กำไรจากการดำเนินงาน
 
ขาย   -  ต้นทุนผันแปร    =  กำไรส่วนเกิน

 
 






จุดคุ้มทุน (Break  even point) เป็นจุดที่รายได้ เท่ากับต้นทุน
                รายได้  =  ต้นทุน

 
สมการ หาจำหน่ายหน่วยที่คุ้มทุน
    รายได้             ต้นทุน                 =   กำไร                                                         (ในที่นี้ กำไร = 0)
 (P x Q) – (TVC + TFC)          =   กำไร
(PxQ)-[(VxQ) – TFC ]            =   กำไร           
(PxQ) – (VxQ) – TFC             =   กำไร
Q(P-V) – TFC =    0
                          Q(P-V)          = TFC
Q         = TFC / P-V
                                 หน่วยขายที่คุ้มทุน =  ต้นทุนคงที่รวม  / ราคาขาย ต้นทุนผันแปร
 
 

















ตัวอย่างที่ 1  
                ขายบัตรโทรศัพท์                                                                                 100          บาท
                ต้นทุนผันแปร                                                                                      80            บาท
                กำไรส่วนเกิน (100-80)                                                                        20            บาท
                ต้นทุนคงที่ (ค่าเช่า)                                              2,000      บาท/เดือน
                                   (เงินเดือนพนักงานขาย)     1,000       บาท/เดือน
                                รวมต้นทุนคงที่ (2,000+1,000)                                             3000        บาท       
1. จงหาหน่วยขาย ที่จะคุ้มทุน
จุดคุ้มทุน(หน่วย) =  ต้นทุนคงที่รวม  / ราคาขาย ต้นทุนผันแปร
จุดคุ้มทุน(หน่วย) =  ต้นทุนคงที่รวม  / กำไรส่วนเกิน

                                = 3000 / 100 80
                                = 3000 / 20
                                = 150      หน่วย (ใบ)
2. หากต้องการกำไรจากการดำเนินการ 1000 บาท จะต้องขายกี่หน่วย           
                                หน่วยขายที่ให้กำไรตามเป้าหมาย (Target Profit) = TFC+ Profit  / P - V
ขาย(หน่วย)         =  ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ  / ราคาขาย ต้นทุนผันแปร
ขาย(หน่วย)         =  ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ  / กำไรส่วนเกิน
                                                        = 3000 + 1000 / 80 -20
                                                        = 4000 / 20
                                                        = 200      หน่วย(ใบ)







พิสูจน์                     ขาย  (200 หน่วย x 100)                        =             20000      บาท
                                ต้นทุนผันแปร ( 200 หน่วย x80)         =             16000      บาท
                                กำไรส่วนเกิน ( 200 หน่วย x (100-80))
                                                       ( 200 x 20)                       =             4000        บาท
                                ต้นทุนคงที่                                             =             3000        บาท
                                กำไรจากการดำเนินงาน                        =          1000        บาท


ตัวอย่างที่ 2  เสรี ดำเนินธุรกิจห้องอาหาร โดยมีต้นทุนคงที่ 420,000 บาท  มีรายได้เฉลี่ย/หัวของลูกค้า 380 บาท มีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 212 บาท
1). ถ้าเสรี ต้องการกำไรจาการดำเนินงาน 168,000 บาท /เดือน จะต้องมีลูกค้ามาอุดหนุนกี่คน
ขาย(หน่วย)         =  ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ  / ราคาขาย ต้นทุนผันแปร
                ขาย(หน่วย)         =  ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ  / กำไรส่วนเกิน
                                    =  420,000 + 168,000 / 380 - 212
                                                =  588,000 / 168
                                                =  3,500  หน่วย(คน)
 2) ถ้าลูกค้าลดลง 10 % จะได้กำไรเดือนละเท่าไร
                                ขาย  3500 (3500x10%) x 380         
                               (3500 350 = 3150) x 380         =             1,197,000                 บาท
                                ต้นทุนผันแปร ( 3150 หน่วย x212)     =                 667,800               บาท
                                กำไรส่วนเกิน                                    =                 529,000               บาท
                                ต้นทุนคงที่                                             =                 420,000               บาท
                                กำไรจากการดำเนินงาน                        =              109,200              บาท
3) เพื่อแก้ไขปัญหาลูกค้าลดลง เสรีได้ว่าจ้าง นักดนตรีและนักร้องมาร้องเพลง คืนละ 4 ชม. คิดเป็นเงิน 40,000 บาท/เดือน ทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น จาก 3150 เป็น 3450 คน จะทำให้เสรีมีกำไรต่อเดือนเท่าไร
                                ต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้น 420,000+40,000 = 460,000
                                ลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น  3450  คน
ดังนั้น
                                ขาย  (3450 หน่วย x 380)                      =             1,311,000                บาท
                                ต้นทุนผันแปร ( 3450 หน่วย x212)     =                731,400                บาท
                                กำไรส่วนเกิน                                        =                579,600                บาท
                                ต้นทุนคงที่                                             =                460,000                บาท
                                กำไรจากการดำเนินงาน                        =            119,600                บาท









ส่วนผสมการขาย (Sale Mix)
                ตัวอย่างที่ 1 บริษัทสินธร จำกัด ขายผลิตภัณฑ์  ก 8,000 หน่วย และผลิตภัณฑ์ ข. 2,000 หน่วย ในระหว่างปีที่ผ่านมา ต้นทุนคงที่ของบริษัทเท่ากับ 200,000 บาท ข้อมูลอื่น ๆ มีดังนี้

ผลิตภัณฑ์ ก
ผลิตภัณฑ์ ข
ราคาขาย
90
140
ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
70
95
กำไรส่วนเกินต่อหน่วย
20
45
ส่วนผสมการขาย
80%
20%
กำไรส่วนเกินของส่วนผสมการขาย/หน่วย
(20x80%)  = 16
(45x20%)  = 9

ดังนั้น
                                กำไรส่วนเกินต่อหน่วย ของส่วนผสมการขาย ก + ข จึงเท่ากับ  16+9 =  25
 จุดคุ้มทุนขาย(หน่วย)            =     ต้นทุนคงที่ / กำไรส่วนเกิน
                                                                          =  20,000 / 25
                                                                         =  8,000 หน่วย

                        โดยผลิตภัณฑ์ ก    8,000 หน่วย x 80%              =             6,400
                            โดยผลิตภัณฑ์ ข    8,000 หน่วย x 20%              =             1,600
                                                                รวม                                         =             8,000 หน่วย

ส่วนเกินที่ปลอดภัย (Margin of Safety) แสดงถึงยอดขายที่อาจลดลงได้ก่อนที่จะขาดทุน เพื่อลดราคา (Discount)
                                Margin of Safety       = ขาย  -  ขาย  ณ จุดคุ้มทุน  /  ขาย
เช่น                         Margin of Safety       = 250,000  -  200,000  /  250,000
                                                                                = 20%