วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

การแบ่งลักษณะภาษี


   1. ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล     
   2. ภาษีทางอ้อม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต 
    ภาษีศุลกากรภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax )
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีทางตรงจัดเก็บจากฐานเงินได้
จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา และผู้ที่กฎหมายกำหนด
ฐานภาษี จัดเก็บจากเงินได้สุทธิ (ฐานในการคำนวณภาษี)                               
เงินได้พึงประเมิน (แต่ไม่รวมเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น)                               
หัก ค่าใช้จ่ายหัก ค่าลดหย่อนและบริจาค                               
เงินได้สุทธิ แล้วจึงคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า
ระยะเวลาของเงินได้ที่คำนวณ คือ ปีภาษี (ปีปฏิทิน 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.)ชำระภาษีโดยประเมินตนเองภายในวันที่ 31มีนาคมของปีถัดไปภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล   
- นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้  
 - ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล   
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ            
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
- รอบระยะเวลาบัญชี             
- กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล             
 - เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ            
  - เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)            
- อัตราภาษีและการคำนวณภาษี            
- การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี                
ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ 
 - สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
- บัญชีอัตราภาษี  
ภาษีมูลค่าเพิ่ม       ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม               
  - ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม             
    - ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายแต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้  
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กำหนดเวลาการจดทะเบียน                
- สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม               
  - ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม                
 - หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม               
  - การเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม                
 - กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย               
  - การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม                
  - กำหนดเวลา สถานที่ยื่นแบบและการชำระภาษี                
    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม   ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.2 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
   ภาษีสรรพสามิต    คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมกรมสรรพสามิต    มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างจากผู้ผลิตสินค้าหลายประเภท     เรียกว่า ภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
    ภาษีศุลกากรบทบาทของภาษีศุลกากรเพื่อใช้เป็นวัตถุประสงค์ในการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจึงลดน้อยถอยลงตามลำดับ  การเก็บภาษีของรัฐจุดมุ่งหมายของรัฐโดยทั่วไปก็คือการหารายได้เข้ารัฐ  แต่จุดมุ่งหมายรองๆลงมาก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและบริการที่รัฐบาลจัดเก็บภาษีการเก็บภาษีศุลกากร  นอกจากจะเป็นเหตุผลในการหารายได้แล้ว  ความมุ่งหมายหลักก็คือ เพื่อการคุ้มกันการค้าของประเทศเพราะสินค้านำเข้าเมื่อต้องเสียภาษีศุลกากรก็จะมีราคาแพงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตในประเทศอย่างไรก็ตามนโยบายในการกีดกันทางการค้าด้วยภาษีนี้เป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างละเอียดว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร